ครม.เศรษฐกิจ' เล็งใช้ภาษีจูงใจติด 'เอ็นจีวี' นำร่องขาย 'อี 85' ในปั๊ม 50 แห่ง
ครม.เศรษฐกิจเล็งออกมาตรการประหยัดพลังงาน เน้นส่งเสริมให้ใช้ 'เอ็นจีวี' โดยใช้ภาษีจูงใจ สมองใสเล็งเสนอมาตรการบังคับประหยัดพลังงาน 'เลิกใส่สูท-คาร์พูล-ปาร์คแอนด์ไรด์' วอนโรงกลั่นเครือปตท.นำกำไรการกลั่น ช่วยเบาภาระประชาชน
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม สำนักข่าว 'เอพี' รายงานว่า ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีตในตลาดเอเชียช่วงบ่ายปรับขึ้น 77 เซนต์ อยู่ที่ 132.96 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากราคาปิดที่ตลาดนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ 132.19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ ยังมีสาเหตุมาจากเรื่องเดิม คือ ความกังวลว่าปริมาณน้ำมันจะตึงตัว โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะจีนสั่งซื้อน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเพื่อไป ผลิตกระแสไฟฟ้าหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว รวมทั้งความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์ โดยสัปดาห์นี้นักลงทุนจับตาดูรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้งเรื่องความมั่นใจของผู้บริโภค ยอดขายบ้าน โดยนักลงทุนประเมินว่าตัวเลขที่ออกมาน่าจะอ่อนแอ อันจะสร้างแรงกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนลงไปอีก
พล.ท. (หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจวันเดียวกันนี้ กระทรวงพลังงานจะรายงานสถานการณ์ราคาน้ำมัน และมาตรการรับมือเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว ประกอบด้วยแผนการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (เอ็นจีวี) ระยะยาวที่ปรับใหม่ ซึ่งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะมีการลงทุนวางท่อเส้นใหม่ 3 เส้น มูลค่าลงทุน 34,850 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี (2552-2554) ประกอบด้วย 1.ภาคเหนือ วางจากอยุธยา-นครสวรรค์ ระยะทาง 172 กิโลเมตร (กม.) เงินลงทุน 8,600 ล้านบาท 2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วางจากสระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 152 กม. เงินลงทุน 7,600 ล้านบาท และ 3.ภาคใต้ วางจากราชบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 373 กม. เงินลงทุน 18,650 ล้านบาท พร้อมกับจัดหาและให้บริการเอ็นจีวีให้สามารถรองรับรถยนต์ให้ได้ 123,370 คัน ภายในสิ้นปี 2551 โดยจะเสนอของบประมาณมาสนับสนุนส่วนนี้ด้วย เนื่องจากมีการลงทุนค่อนข้างมาก
พล.ท.(หญิง)พูนภิรมย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ จะเสนอมาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจให้มีการใช้เอ็นจีวี ประกอบด้วย ขยายเวลายกเว้นภาษีนำเข้าถังบรรจุก๊าซฯ และอุปกรณ์เอ็นจีวีให้เหลือ 0% ออกไปอีก 4 ปี หรือจนถึงปี 2555 และขยายเวลาปรับลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วน และอุปกรณ์ ซึ่งนำเข้ามาในลักษณะชิ้นส่วนสมบูรณ์ หรือซีเคดี (CKD) เพื่อประกอบและผลิตในประเทศ จาก 10% ให้เหลือ 0% ครอบคลุมรถบรรทุกและรถหัวลากด้วย รวมทั้งยกเว้นภาษีเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ประเภทเครื่องจักร อุปกรณ์วัสดุเอ็นจีวี โดยรวมค่าติดตั้งเป็นจำนวน 25% ของค่าใช้จ่าย และให้ขยายเวลาการยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์เอ็นจีออกไปอีก 3 ปี จากเดิมจะสิ้นสุดในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้
พล.ท.(หญิง)พูนภิรมย์ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานยังจะเสนอมาตรการบังคับประหยัดพลังงาน โดยเริ่มจากหน่วยงานภาครัฐก่อน ทั้งการเลิกใส่สูท คาร์พูล จัดทำพาร์กแอนด์ไรด์ (Park & Ride) พร้อมจำกัดความเร็วรถไม่เกิน 90 กม.ต่อชั่วโมง เป็นต้น รวมถึงแผนรองรับการส่งเสริมการใช้น้ำมันอี 85 ซึ่งบริษัท ปตท.และบริษัทบางจาก จะนำร่องเปิดขายนำร่องในปั๊ม 30-50 แห่ง ภายใน 3-6 เดือนนี้ จากการหารือกับค่ายรถยนต์ทั้งยุโรปและญี่ปุ่นก็พร้อมนำเข้ารถยนต์เช่นกัน โดยเสนอให้มีการลดภาษีจูงใจให้คล้ายกับรถยนต์ อี 20
พล.ท.(หญิง)พูนภิรมย์ กล่าวว่า สำหรับมาตรการช่วยเหลือระยะสั้นได้ขอความร่วมมือโรงกลั่นน้ำมันในเครือ บริษัท ปตท.ทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย ไทยออยล์, ไออาร์พีซี, บางจาก และพีทีทีเออาร์ ช่วยลดผลกระทบราคาน้ำมันดีเซลแพง ซึ่งทั้ง 4 แห่งก็ยินดีช่วยนำกำไรจากการกลั่นน้ำมันดีเซลให้ไม่เกิน 1 บาทต่อลิตรมาช่วย โดยจะสรุปรูปแบบของการช่วยเหลือภายในสัปดาห์นี้ว่า จะได้เงินเท่าใด และช่วยเหลือในลักษณะใด และจะขยายความร่วมมือกับโรงกลั่นของภาคเอกชนอีก 2 แห่งด้วย
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันทั้ง 4 โรงกลั่น มียอดขายดีเซลรวมกันอยู่ประมาณ 32 ล้านลิตรต่อวัน มาตรการช่วยเหลือดังกล่าวจะเป็นระยะสั้น 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ราคาน้ำมัน (ประมาณ 960 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 5-6 พันล้านบาท หากใช้ 6 เดือน) โดยเงินที่ได้จะนำมาเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือกองทุนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อนำไปใช้ในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากราคาดีเซล และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ทั้งแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลต่อไป เนื่องจากขณะนี้สถานะของกองทุนน้ำมันแม้จะเป็นบวก แต่ก็ไม่มากนัก โดยมีรายรับเป็นบวก 10-20 ล้านบาทต่อวัน
ด้านนางสุจินดา เชิดชัย หรือเจ๊เกียว เจ้าของกิจการชิดชัยทัวร์ กล่าวถึงการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารร่วมร่วม บ.ข.ส. ว่า ได้ขอปรับขึ้น 9 สตางค์/กม. แต่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติ 3 สตางค์/กม. ค่าธรรมเนียมก็ยังไม่พิจารณา ส่วนต่างที่เหลือผู้ประกอบการต้องรับภาระแทน ดังนั้น จะเรียกร้องให้ปรับอัตราค่าโดยสารขึ้นตามที่ขอไปให้ได้ ไม่เช่นนั้นผู้ประกอบการก็อยู่ไม่ได้แน่นอน เพราะแบกรับภาระขาดทุนไม่ไหว ต้องหยุดวิ่งหรือลดเที่ยววิ่งลง
'ต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซเอ็นจีวีสำหรับรถโดยสารที่วิ่งสายยาว หรือเกิน 300 กิโลเมตร จะมีปัญหาตามมา โดยเฉพาะหาปั๊มเติมก๊าซแทบไม่ได้ แต่การขึ้น 9 สตางค์/กม. ประชาชนไม่ได้เดือดร้อนหรอก มีแต่เราซึ่งที่ผ่านมาขาดทุนตลอด ทำให้ไม่มีทุนต่อรถใหม่ ต้องทนใช้รถที่มีอยู่เดิม แต่เราก็รับรองความปลอดภัย ไม่ต้องเป็นห่วง เจ๊เกียวมีคติประจำใจว่าค้าขายอยู่ได้ แต่ต้องไม่เอากำไรมาก ที่สำคัญต้องอย่าขาดทุน แค่นี้ทุกฝ่ายก็จะอยู่ร่วมกันได้ด้วยดี' นางสุจินดา กล่าว
ต่อมา นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงภายหลังประชุมครม.เศรษฐกิจ ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน โดยใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบมาตรการประหยัดพลังงาน โดยกระทรวงการคลังจะเข้าไปดูแลในเรื่องของอัตราภาษีสำหรับรถยนต์ที่จะใช้ อี 85 (เอธานอล 85%) โดยจะดูให้มีราคาเท่ากับหรือต่ำกว่า อี 20 โดยจะสรุปรายละเอียดเข้า ครม.ได้ในสัปดาห์หน้า และจะดูแลโครงสร้างภาษีรถยนต์ให้เป็นธรรมทั้งระบบ ทั้งอี 20 และอีโคคาร์
'คาด ว่าการขยายระยะเวลายกเว้นการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับรถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทน ออกไปทั้งหมดในครั้งนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท แต่ถ้าเทียบกับการประหยัดการนำเข้าน้ำมัน ถือว่าคุ้มค่า โดยจะให้ อี 85 มีราคาต่ำกว่าน้ำมันเบนซินประมาณ 10 บาท/ลิตร คาดว่าเรื่องอี 85 จะเริ่มได้ภายใน 3-4 เดือนนับจากนี้' นพ.สรุพงษ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าว ถามว่า ถ้าทำตามมาตรการทั้งหมดจะทำให้เศรษฐกิจในปีนี้ขยายตัวได้ 6% ตามเป้าที่วางไว้หรือไม่ นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า มาตรการที่ออกมาครั้งนี้จะเข้าตรงถึงกลุ่มผู้ยากจน ไม่ให้ค่าครองชีพเร่งตัวมากเกินไป และมาตรการที่ออกมาน่าจะทำให้ความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น อัตราเงินเฟ้อไม่เร่งตัวมาก และหากยังไม่เป็นผลก็ต้องมีมาตรการอื่นๆ ออกมาเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจปีนี้โตให้ได้ 6% หรือทำให้เศรษฐกิจกับเงินเฟ้อโตในอัตราที่ใกล้เคียงสมดุลกันที่สุด
เมื่อ ถามว่า จะดูแลราคาเอ็นจีวี ให้อยู่ที่ 8.50 บาท/กก.จนถึงเมื่อไหร่ นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ราคาเอ็นจีวีในปัจจุบันถือว่าต่ำกว่าความเป็นจริงมาก เนื่องจากคำนวณจากราคาน้ำมันในอดีตที่ยังสูงไมไถึง 100 เหรียญฯ/บาร์เรล แต่เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากเกินไป ก็จะยืนราคาดังกล่าวไปจนถึงสิ้นปีนี้ จากนั้นจะต้องมาดูราคาให้เหมาะสมอีกครั้ง โดยมองอยู่ที่ 12 บาท/กก.
Monday, May 26, 2008
'ครม.เศรษฐกิจ' เล็งใช้ภาษีจูงใจติด 'เอ็นจีวี' นำร่องขาย 'อี 85' ในปั๊ม 50 แห่ง NGV 12 B/Kg สิ้นปี Gasohol E85 ถูกกว่า 10 บาท
Wednesday, May 21, 2008
น้ำมันแพง"ออพตร้าCNG"ขายดี โต 123% ถังก๊าซนำเข้าจากอิตาลีขาดตลาด ยอดค้างส่งมอบ 2 เดือน
Friday, May 16, 2008
ไม่มีไม่ได้แล้ว.. โลจิสติกส์ภาคขนส่งพึ่งใบบุญรัฐ หนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ติด'เอ็นจีวี'ตัวช่วยลดต้นทุน
ไม่มีไม่ได้แล้ว.. โลจิสติกส์ภาคขนส่งพึ่งใบบุญรัฐ หนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ติด'เอ็นจีวี'ตัวช่วยลดต้นทุน
ผลจากราคาน้ำมันดีเซลที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการโลจิสติกส์ภาคการขนส่งอย่างเต็มๆ ล่าสุดฉุดตัวเลขต้นทุนขนส่งต่อเที่ยวเพิ่มสูงถึง 55 % แล้ว ผลที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ประกอบการเริ่มเคลื่อนไหว เรียกร้องให้รัฐบาล เร่งนโยบายลดต้นทุนพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการออกมาตรการสนับสนุนในการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์จากน้ำมันดีเซลมาเป็นก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนได้ถึง 3 เท่าของการใช้น้ำมัน
++โอด!ต้นทุนพลังงานพุ่งไม่หยุด
นายชุมพล สายเชื้อ ประธานบริษัทไทยโลจิสติกส์ อัลลายแอนซ์ จำกัด (ทีแอลเอ) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ถึงสถานการณ์น้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องว่า จากการหารือร่วมกันของบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์กว่า 30 บริษัทในกลุ่มทีแอลเอ เห็นว่า ต้นทุนหลักของภาคธุรกิจขนส่ง คือต้นทุนพลังงาน ซึ่งขณะนี้ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก และยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ให้บริการด้านขนส่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทไม่สามารถปรับขึ้นค่าระวางสินค้าได้
ทั้งนี้ทางกลุ่มทั้ง 30 บริษัทภาคขนส่งมีความเห็นร่วมกัน ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ด้วยการออกมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการในการใช้พลังงานทางเลือกอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนด้านขนส่งของประเทศลงได้อย่างมาก เนื่องจากหมวดการขนส่งหลักกว่า 80 %ของประเทศ เป็นการขนส่งทางถนนหรือรถบรรทุก
ซึ่งปัจจุบันมีรถที่จดทะเบียนอยู่ในระบบประมาณ 70,000 คัน แต่มีรถที่ปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ก๊าซเอ็นจีวีแค่ประมาณ 10,000 กว่าคัน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่หรือผู้ให้บริการต่างชาติ
"ถ้ารัฐบาลจะผลักดันจริงๆ ก็ควรต้องหาแนวทางหรือมาตรการอะไรมาปลดล็อกในเรื่องนี้ให้ได้ ตัวอย่างรถที่จดทะเบียนอยู่ในระบบที่เป็นรถบรรทุกสินค้าขณะนี้มีประมาณ 70,000 คัน แต่มีรถที่เปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้เอ็นจีวีแค่10,000 กว่าคัน ทั้งที่เอ็นจีวีถูกกว่าดีเซลถึง 3 เท่า ซึ่งถ้ารัฐผลักดันเรื่องเอ็นจีวีอย่างจริงจังจะช่วยลดต้นทุนพลังงานของประเทศลงได้อย่างมหาศาล นอกจากนี้รัฐควรช่วยดูในเรื่องของรถเที่ยวเปล่า ซึ่งหากมีมาตรการอะไรออกมาช่วยในเรื่องนี้ได้ ก็จะเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการขนส่ง"
++ร้องรัฐหนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำติดเอ็นจีวี
นายชุมพลกล่าวต่อว่า ถึงแม้ขณะนี้ผู้ประกอบการต้องการจะเปลี่ยนมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี แต่ก็ยังมีปัญหาด้านสถานีบริการที่มีปริมาณไม่เพียงพอ และเงินทุนสำหรับการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์
ดังนั้นเห็นว่า รัฐบาลควรเร่งออกมาตรการสนับสนุนในเรื่องนี้ อาทิ 1.การผลักดันให้เกิดสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวีในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ 2.สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือสามารถให้ผู้ประกอบการใช้รถบรรทุกค้ำประกันแทนสินทรัพย์ได้ รวมถึงการเข้ามาดูด้านอุปกรณ์ในการติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีที่ยังมีราคาแพงอยู่มาก
ทั้งนี้เห็นว่าหากรัฐบาลสามารถผลักดันให้รถบรรทุกมาใช้ก๊าซเอ็นจีวีได้ จะทำให้ลดต้นทุนด้านขนส่งลงได้อย่างมหาศาล ซึ่งจากตัวเลข 70,000 คัน จะมีรถที่วิ่งจริงอยู่ประมาณ 50,000 คัน
แต่ละคันใช้น้ำมันเฉลี่ย 200 ลิตรต่อวัน ถ้าเปลี่ยนมาใช้ก๊าซเอ็นจีวีจะประหยัดได้
ลิตรละ 20 บาท รถ1 คันก็จะประหยัดได้ 4,000 บาท ถ้า 500,000 คันก็จะประหยัดได้มหาศาล
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาถึงแม้ผู้ประกอบการด้านขนส่งได้มีความพยายามที่จะปรับขึ้นค่าระวางสินค้า แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผู้จ้างหรือเจ้าของสินค้าไม่สามารถไปปรับเพิ่มราคาสินค้าได้ และหากมีการปรับขึ้นค่าระวางผู้ใช้บริการก็จะเลือกไปใช้ผู้ให้บริการรายอื่นแทน เนื่องจากปริมาณรถมีมากกว่าความต้องการ นอกจากนี้การปรับขึ้นของราคาน้ำมันที่เฉลี่ยปรับขึ้นเดือนละ 4-5 ครั้ง ยังทำให้ผู้ประกอบการขนส่งไม่สามารถคำนวณต้นทุนที่แท้จริงได้
++ระบุเอ็นจีวีทำให้ต้นทุนลดถึง70%
นายสัญญวิทย์ เศรษฐโภคิน เลขาธิการสมาคมขนส่งสินค้า กล่าวว่า สถานการณ์ของธุรกิจโลจิสติกส์ในปีนี้ ยังอยู่ในสภาพทรงตัว โดยธุรกิจยังคงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซล ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้กลุ่มผู้ประกอบการขนส่งสินค้า เริ่มหันไปลงทุนเพื่อเปลี่ยนจากการใช้เครื่องยนต์ดีเซลมาเป็นก๊าซเอ็นจีวีแทน ทั้งนี้ แม้ต้นทุนการติดตั้งเอ็นจีวีจะมีต้นทุนสูง โดยราคาติดตั้งต่อคันประมาณ 5 แสนบาท แต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต โดยเฉพาะการลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเทียบกับก๊าซเอ็นจีวีจะพบว่าการใช้ก๊าซเอ็นจีวีทำให้ต้นทุนลดลงถึง 70% จากที่เคยเติมน้ำมันดีเซลในราคา 100 บาท เมื่อเปลี่ยนมาเป็นเอ็นจีวี ต้นทุนจะอยู่ที่ประมาณ 30 บาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตามเครือข่ายการให้บริการของเอ็นจีวี ยังไม่แพร่หลายและครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้เกิดต้นทุนแฝง ซึ่งมาจากการใช้ระยะเวลาในการเดินทางไปยังสถานีเติมเอ็นจีวี ซึ่งอยู่ห่างไกล รวมถึงค่าแรงของพนักงานขับรถที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนที่ประหยัดจริงเหลือเพียง 30-40% เท่านั้น ดังนั้นจึงอยากให้สถานีบริการเอ็นจีวีขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมขึ้น เพื่อให้เกิดการประหยัดอย่างแท้จริง
++ เสนอปตท.เพิ่มสถานีบริการ
ขณะที่นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แม้ราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ผู้ประกอบการขนส่งสินค้ายังต้องตรึงราคาค่าขนส่งไว้ และอาจต้องปรับลดค่าขนส่งลงตั้งแต่เดือนนี้(พ.ค.)จนถึงปลายปี เนื่องจากใกล้สิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้จำนวนเที่ยวที่วิ่งของรถบรรทุกลดลงถึง 50 % ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
แต่ขณะเดียวกันยังมีปัญหาในเรื่องของจำนวนสถานีบริการที่มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงอยากให้รัฐบาลเร่งให้ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพิ่มปริมาณสถานีบริการให้มากขึ้นอีก 6เท่าจากที่มีอยู่ เนื่องจากขณะนี้รถบรรทุกต้องใช้เวลารอเติมก๊าซเอ็นจีวีแต่ละครั้ง 3-4 ชั่วโมง ซึ่งเสียเวลาเป็นอย่างมากจึงอยากให้ปตท.เร่งดำเนินการและวางแผนระยะยาวไม่ให้เกิดวิกฤติการขาดแคลนก๊าซเอ็นจีวี
นอกจากนี้รัฐบาลควรเร่งดำเนินการออกกฎหมายหรือวิธีการอื่นๆในการช่วยผู้ประกอบการรถบรรทุกในประเทศ เนื่องจากมีต่างชาติเข้ามาตั้งบริษัทจ้างคนไทยวิ่งรถและใช้วิธีกดราคา ทำให้ผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยได้รับความเดือดร้อน จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูเพื่อให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
++ส.อ.ท.จี้รัฐผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาราคาน้ำมันได้ปรับขึ้นประมาณ 25% ทำให้ทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่ อาทิ ต้นทุนด้านโลจิสติกส์หรือด้านการขนส่ง ทั้งทางน้ำ ทางเรือ ทางอากาศ และทางบก ได้รับผลกระทบมากส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมต่างจังหวัดที่ส่งสินค้าเข้ามาขายในกรุงเทพฯ ที่จะทำให้การขนส่งจากเดิมที่ค่าขนส่งจะอยู่ที่ 35%ของต้นทุนทั้งหมด แต่ขณะนี้ต้นทุนการขนส่งได้ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 50-55% ของต้นทุนทั้งหมด
อย่างไรก็ตามสำหรับสถานการณ์น้ำมันขณะนี้มองว่าน้ำมันไม่น่าจะมีโอกาสปรับตัวต่ำลงได้ เนื่องจากความต้องการใช้มีมากกว่าการผลิตประมาณ1% ทำให้มีการแข่งขันด้านราคา รวมทั้งสถานการณ์ของเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัว และมองว่าราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เห็นว่ารัฐบาลควรมีนโยบายด้านพลังงานที่ชัดเจน เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ในการประหยัดพลังงาน เช่น อุปกรณ์ที่ประกอบเครื่องยนต์เอ็นจีวี ขณะเดียวกันรัฐบาลต้องเร่งออกมาตรการสนับสนุนให้ภาคการขนส่งหันมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี ด้วยการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ
ด้านดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 20.3-21.5%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) สูงขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปี2545 ที่ต้นทุนโลจิสติกส์อยู่ที่19.1% ของจีดีพี เนื่องจากราคาน้ำมันมีราคาแพงขึ้น ดังนั้นระยะสั้นผู้ประกอบการต้องปรับปรุงระบบบริหารจัดการ สินค้าคงคลัง และคลังสินค้า เพื่อลดผลกระทบจากต้นทุนค่าขนส่ง เช่น การส่งสินค้าตรงเวลา จะทำให้ลดสินค้าคงคลังและไม่ต้องสต๊อกสินค้าไว้มาก รวมทั้งเร่งสร้างพันธมิตรธุรกิจเพื่อให้การขนส่งสินค้าไม่มีเที่ยวเปล่า
++เอดีแอล ฝากขอ.ดูแล"ฟิว เซอร์ชาร์จ"
นายปรับปรุง ไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอดีแอล จำกัด หนึ่งในสมาชิกสมาคมตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ (ทาฟ่า) กล่าวว่า ในส่วนของผู้ประกอบการคงไม่ได้รับผลกระทบเท่าใดนักเนื่องจาก ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้บวกเพิ่มไปกับค่าระวางหรือค่าตั๋วเครื่องบินแล้ว แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือผู้ส่งออกทั่วไป โดยในความเห็นส่วนตัวมองว่าการที่สายการบินมีการปรับราคาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม และอัตราค่าระวางเครื่องบินน่าจะอยู่ต่ำกว่าปัจจุบันอย่างน้อย 50%
ทั้งนี้เห็นว่ากรมการขนส่งทางอากาศ(ขอ.) น่าจะลงมาดูแลในเรื่องของการขึ้น ฟิว เซอร์ชาร์จ ของสายการบินบ้าง เพราะบางสายการบินก็มีการขึ้นราคาอย่างไม่สมเหตุสมผล โดยที่ผ่านมากรมการขนส่งทางอากาศก็ได้แต่เพียงรับทราบแต่ไม่ได้มีความชัดเจนว่าจะลงมาดูแลในเรื่องดังกล่าวอย่างไร โดยเห็นว่า รัฐบาลควรตระหนักถึงปัญหานี้ และลงมากำกับดูแลอย่างใกล้ชิดก่อนที่ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศจะสูงไปกว่านี้ เพราะที่ผ่านมา 1 ปีโครงการต่างๆที่รัฐบาลเดิมวางเอาไว้แล้วไม่สามารถทำได้หลังจากการมีรัฐประหาร หลายโครงการก็ล่าช้าออกไปจากเดิม ส่วนสิ่งที่น่าจะช่วยลดผลกระทบจากราคาน้ำมันได้ คือบริษัทผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ ต้องนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการลดต้นทุน
ก.พลังงาน มั่นใจ ปริมาณก๊าซเอ็นจีวีในรถยนต์จะมีเพียงพอใช้แน่นอนใน 1 – 2 เดือนข้างหน้า
กระทรวงพลังงาน มั่นใจ ปริมาณก๊าซเอ็นจีวีในรถยนต์จะมีเพียงพอใช้แน่นอนใน 1 – 2 เดือนข้างหน้า พร้อมทั้งเร่งขยายปั้มเอ็นจีวีเป็น 355 แห่ง และเพิ่มปริมาณก๊าซในรถยนต์เป็น 3,500 ตันต่อวันปลายปี
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงาน ได้ตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการขยายการให้บริการและส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ขึ้นแก้ปัญหาเอ็นจีวีไม่เพียงพอ โดยสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีผู้มาติดตั้งเอ็นจีวีในรถยนต์แล้ว 72,950 คัน เป็นรถเบนซิน 60,230 คัน และรถดีเซล 9,900 คัน และคาดว่าสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 120,000 คัน ที่ใช้ก๊าซถึง 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทำให้จำเป็นต้องเพิ่มสถานีบริการจาก 177 แห่งเป็น 234 แห่งในเดือนมิถุนายน และอีก 355 แห่งในปลายปีนี้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการที่ปัจจุบันใช้เอ็นจีวีประมาณ 58 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ประหยัดน้ำมันได้ 18,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ จะเพิ่มปริมาณก๊าซให้รถยนต์จาก 1,000 ตันต่อวัน เป็น 3,500 ตันต่อวันปลายปีนี้ด้วย แก้ปัญหาสถานีบริการเอ็นจีวีไม่เพียงพอ ปริมาณก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ในรถยนต์ และการใช้ระยะเวลานานในการเติมเอ็นจีวีในแต่ละครั้ง ซึ่งคาดว่าเดือนมิถุนายนนี้จะสามารถเพิ่มการให้บริการได้มากขึ้น
รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จะเร่งเพิ่มสถานีจ่ายก๊าซสถานีแม่อีก 3 แห่ง คือ นิมิตรใหม่ , รังสิต , ลาดหลุมแก้ว รองรับการผลิตได้ถึง 750 ตันต่อวัน พร้อมหาสถานีแม่ใหม่อีก 5 แห่ง คือ ลำลูกกา , เทพารักษ์ , สวนพฤกษ์ , ประชาอุทิศ , นิมิตรใหม่ 2 ที่รองรับได้ 1,275 ตันต่อวัน , เพิ่มรถขนส่งก๊าซจาก 389 คัน เป็น 900 คัน และเพิ่มสถานีบริการรถใหญ่จาก 11 แห่ง เป็น 58 แห่งสิ้นปีนี้ ที่สำคัญจะเพิ่มการผลิตก๊าซในสถานีลาดหลุมแก้วอีก 180 ตันต่อวัน ที่รองรับรถยนต์ได้ถึง 5,000 คัน จึงขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าจะมีปริมาณเอ็นจีวีเพียงใช้กับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น
Saturday, May 3, 2008
Manager Online - กรมขนส่งฯ หนุนปชช.ใช้ NGV ยันประหยัดกว่าน้ำมันปีเดียวคุ้มทุน
|
Thursday, May 1, 2008
M-3200 pressure swing adsorption (PSA) system to the ‘Biomethane for Vehicle Fuel’ project located at the Hilarides Dairy in Lindsay, California
Vehicle Fuel' project located at the Hilarides Dairy in Lindsay,
California
April 2008
Canada, Vancouver
QuestAir Technologies Inc. has announced that it will supply an
purifies methane M-3200 pressure swing adsorption (PSA) system to the
'Biomethane for Vehicle Fuel' project located at the Hilarides Dairy
in Lindsay, California. Phase 3 Renewables LLC (Phase 3) will
integrate QuestAir's PSA into a plant that upgrades a portion of the
biogas generated from the anaerobic digestion of manure at the
9,000-cow dairy in California. QuestAir's M-3200 purifies
methane-containing gas streams such as anaerobic digester gas and
landfill gas to high purity methane, suitable for supplementing
existing natural gas supplies. The system can upgrade up to 250,000
cubic feet of biogas per day.
Manager Online - รมว.พลังงาน เชื่อน้ำมันโลกแตะ 200 ดอลล์ เล็งถกคลังลดภาษีอุปกรณ์ NGV
|