ในยุคที่ราคาน้ำมันแพงยิ่งกว่าทองคำอยู่ในเวลานี้ บริษัทรถยนต์ทั้งหลายต่างพยายามขวนขวายหาแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ เข้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการลดภาระให้กับผู้บริโภค นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผ่านพ้นยุคของเชื้อเพลิงฟอสซิลไปได้ ซึ่งเชื้อเพลิงในอนาคตมีหลากหลายตามที่เทคโนโลยีของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละราย ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาต่อไป
สำหรับ "โตโยต้า" ยักษ์ใหญ่ชั้นนำแห่งวงการรถยนต์ ได้พยายามพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ เช่นกัน ล่าสุดได้เซ็นเอ็มโอยูกับ ปตท.เพื่อพัฒนาเชื้อเพลิงชนิดใหม่ "BHD" หรือ Bio-Hydrogenated Diesel ซึ่งเป็นทางออกสำหรับน้ำมันดีเซลในอนาคต ส่วน ทิศทางด้านพลังงานทางเลือกของโตโยต้านั้น นายเรียวอิจิ ซาซากิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเซียแปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TMAP-EM) ได้อธิบายถึงแนวทางการพัฒนาไว้อย่างชัดเจน
@ ทิศทางการพัฒนาพลังงานทางเลือกของโตโยต้า
การจะพัฒนาทางด้านพลังงานเชื้อเพลิงของแต่ละประเทศนั้นควรมีทิศทางที่ชัดเจน และจะต้องมองถึงการมีพลังงานทดแทนชนิดนั้นมาซัพพอร์ตความต้องการของประชาชน ในประเทศได้อย่างมั่นคง นอกจากนั้นยังต้องมองในด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องพลังงาน ที่จะต้องทำควบคู่กันไปด้วย สำหรับโครงการที่โตโยต้าได้ร่วมมือกับทาง ปตท.นั้น ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ของน้ำมันดีเซล และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับอนาคต นอกจากนั้น ยังมีเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ อีกหลายอย่าง ทั้งเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ไบโอเอทานอล และซีเอ็นจี ซึ่งเมื่อมองแต่ละตัวแล้วคิดว่าทางเลือกที่น่าจะครอบคลุมทุกอย่างได้ คือ ไฮบริดเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามเชื้อเพลิงทุกอย่างที่กล่าวมาทำให้เราต้องมีรถยนต์ที่ใช้เชื้อ เพลิงที่หลากหลายและมีรถยนต์ที่เหมาะสมกับเชื้อเพลิงแต่ละชนิด ขณะ เดียวกัน ยังต้องมองถึงระบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไฮบริดถือเป็นระบบที่ดีที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และยังมีฟิวเอลเซลล์ที่เป็นเชื้อเพลิงในอนาคตอีกด้วย
@ โตโยต้าสนับสนุนโครงการ BHD อย่างไร
โครงการ นี้เป็นแผนงานในอนาคต ซึ่งโตโยต้าให้การสนับสนุนโดยการให้รถยนต์และเครื่องยนต์ไปทดสอบน้ำมัน และนำไปโมดิฟายให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง ซึ่งเราคงต้องดูว่าจะมีการปรับแก้ไขตรงไหนบ้าง เพื่อนำข้อมูลมาใช้สำหรับการผลิตต่อไป ปัจจุบันการใช้น้ำมันดีเซลใน เมืองไทย มีการบริโภคอยู่ที่ 50 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งถ้าโครงกาารสำเร็จจะสามารถนำมาทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลได้ทั้งหมด อยู่ที่ว่าในขั้นตอนของการผลิตเพื่อใช้จริงนั้นจะสามารถผลิตได้หรือไม่ ต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบจะมีเพียงพอแค่ไหน ซึ่งต้องมีการเก็บข้อมูลต่อไป อย่างไรก็ตามโครงการนี้ก็เป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงทางเลือกที่ทุกคนคาดหวัง
@ เชื้อเพลิง BHD แตกต่างจากน้ำมันดีเซลอย่างไร
ขั้น ตอนการผลิตเชื้อเพลิงชนิดนี้อธิบายง่ายๆ ได้ว่า นำเอาน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากสัตว์ที่จะเป็นวัตถุดิบ แล้วนำเอาไฮโดรเจนเข้ามาแทร็กกิ้งเพื่อให้มีการแตกตัวเป็นน้ำมันดีเซล โดยกระบวนการผลิตทำได้ในโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งข้อดีของเชื้อเพลิงชนิดนี้ คือ มีสเป็กดีกว่าน้ำมันดีเซล เพราะไม่มีสารซัลเฟอร์เลย และยังมีสเป็กต่างๆ ที่สูงกว่า และเรายังสามารถนำมาใช้แทนดีเซลได้ถึงบี 100 ปัจจุบันที่ ประเทศฟินแลนด์กับบราซิลกำลังพัฒนาเชื้อเพลิงชนิดนี้อย่างจริงจัง เพราะถือเป็นทางออกสำหรับน้ำมันดีเซลในอนาคต และไม่ต้องกังวลว่าจะมีการปรับแต่งเครื่องยนต์อย่างไร เพราะเชื้อเพลิงชนิดนี้สามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้ทันทีโดยไม่มีผลต่อ เครื่องยนต์ แต่ในเรื่องของต้นทุนการผลิตนั้นต้องขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันพืชและวัตถุดิบ พื้นฐานอื่นๆ ด้วย ซึ่งโครงการนี้จะใช้การทำวิจัยประมาณ 2 ปี
@ โตโยต้ามีแผนงานด้านเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นหรือไม่
ที่ จะกำลังดูอยู่ก็มีซีเอ็นจีหรือเอ็นจีวี ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ โดยจะเป็นการผลิตจากโออีเอ็มซึ่งออกจากโรงงานโตโยต้าโดยตรง มีกำหนดออกสู่ตลาดภายในสิ้นปีนี้ ส่วนไฮบริดนั้นเรากำลังพัฒนาอย่างจริงจัง และจะมีการทำตลาดอย่างจริงจังด้วย เห็นได้จากการที่เราได้นำพรีอุสออกมาจำหน่ายทั่วโลก สำหรับเมืองไทยนำซีบียู (รถยนต์นำเข้า) เข้ามาทำตลาดแต่มีราคาสูง ส่วนซีเคดี (ผลิตในประเทศ) นั้นเรากำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งเป้าหมายน่าจะเป็นแมสสำหรับตลาดเมืองไทยได้โดยเราจะเริ่มในรุ่นใดรุ่น หนึ่งก่อน สำหรับประเทศไทยมีก๊าซธรรมชาติเป็นของตัวเองที่สามารถนำมาใช้ ได้ และยังเป็นการลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศด้วย ขณะที่ก๊าซธรรมชาติยังเหมาะกับสิ่งแวดล้อมมากว่า และมีราคาถูกเพราะสามารถหาได้ในประเทศ ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค แต่ เอ็นจีวีอาจจะมีปัญหาบ้างในเรื่องพื้นที่ติดตั้งถังแก๊สในตัวรถ รวมทั้งตัวถังแก๊สที่จะต้องให้ได้คุณภาพและใช้งานได้ทนทาน นอกจากนั้นราคาจำหน่ายอาจจะสูงกว่า แต่ถ้าเทียบกับการใช้งานแล้วน่าจะคุ้มค่า ขณะที่กำลังของรถอาจจะตกลงนิดหน่อย ซึ่งเราอาจจะแทบไม่รู้สึก แต่คิดว่าไม่น่ามีปัญหาเพราะการใช้ในชีวิตประจำวันไม่จำเป็นต้องใช้กำลัง เหมือนกับรถแข่ง
No comments:
Post a Comment