Friday, July 25, 2008
natural gas is cheaper than alcohol and gasoline
Source NGV Global
Wednesday, 23 July 2008 00:50
Brazil, Rio de Janeiro
A 700 mile demonstration rally has produced results showing natural
gas is cheaper than alcohol and gasoline and also that it produces
fewer greenhouse gas emissions. Three identical vehicles traveled 712
miles in the circuit Rio-Itatiaia-Rio-B๚zios-Rio to compare the
performance of the three fuels. Experts evaluating the project say
that the operational costs of the natural gas vehicle were 61.05
reales ($US38.13) compared with 124.13 reales ($US77.53) for the
alcohol vehicle and 130.40 reales ($ 81.44) for the gasoline vehicle.
CO2 emissions were measured at 167 grams of carbon dioxide (CO2) per
kilometer for natural gas while gasoline and alcohol emitted 207 and
183 grams respectively.
Falabella Bank Joins NGV Con
Friday, July 18, 2008
ดันไทยส่งออกพืชพลังงานพืช ชี้ไม่กระทบราคาอาหารคนแพง
ดันไทยส่งออกพืชพลังงานพืช ชี้ไม่กระทบราคาอาหารคนแพง
การ ผลักดันพลังงานจากพืช (BioFuel) สำหรับการใช้ในรถยนต์และยานพาหนะกลายเป็นประเด็นที่หลายประเทศหวั่นวิตกว่า จะส่งผลให้ราคาอาหารสำหรับคนจะขาดแคลนและราคาพุ่งสูงขึ้น ทำให้ในบางประเทศออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดส่งเสริมพลังงานดังกล่าว หลายคนเกิดคำถามว่า หากประเทศไทยดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าว จะมีผลอย่างไร
สำหรับในต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรปนั้น หลายประเทศได้ออกมาวิจัยกันอย่างเป็นจริงเป็นจังว่า การนโยบายการส่งเสริมพลังงานจากพืชนั้นมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร และล่าสุดผลการวิจัยล่าสุดจาก ศ.เอ็ด กาลแล็ตเจอร์ ประธาน อาร์เอฟเอ ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลด้านพลังงานทดแทนและพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ได้ ของอังกฤษ ได้ออกมาเรียกร้องรัฐบาลอังกฤษว่า ควรจะมีการชะลอแผนการส่งเสริมพลังงานทางเลือกอย่าง ไบโอดีเซลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการขนส่งและรนถยนต์จนกว่าจะสามารถมั่นใจได้ ว่าการส่งเสริมดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อราคาพืชอาหารของคน และหากจะเริ่มต้นสนับสนุนก็ควรจะมีการวางแผนและกำหนดขอบเขตการปลูกพืช พลังงานดังกล่าวอย่างจำกัด
"อุตสาหกรรมพืชพลังงาน เป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใส แต่ทว่าก็ควรจะมีการควบคุมไม่ให้กระทบกับราคาพืชอาหารของมนุษย์ โดยเฉพาะประชากรส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยจนถึงปานกลาง ดังนั้นหน้าที่ของรัฐบาลก็คือ กำหนดขอบเขตและระยะเวลาการส่งเสริมที่เหมาะสม ไม่ให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชเพื่อการพลังงานจนละเลยการปลูกพืชสำหรับอาหาร"
นายรัช เคลลี่ เลขาธิการการขนส่งแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า อังกฤษได้มีการชะลอการส่งเสริมให้ใช้พลังงานทางเลือกออกไปอีก 3 ปี จากเดิมที่ต้องการสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทางเลือก 5% ภายในปี 2010 โดยแผนดังกล่าวจะเลื่อนไปเป็นปี 2013
"อังกฤษก็ยังสนับสนุนนโยบายของสหภาพยุโรปหรืออียูที่ต้องการให้มีการหันมา ใช้พลังงานทางเลือกในสัดส่วน 10% ในอุตสาหกรรมการขนส่งภายในปี 2020 แต่ทว่าจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ให้เกิดผลกระทบกับราคาอาหารสำหรับประชากร"
สำหรับในประเทศไทย นายธิบดี หาญประเสริฐ ประธานชมรมพลังงานไทยทำไทยใช้และรองประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทนเอทานอล -ไบโอดีเซล เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การส่งเสริมพลังงานทางเลือกสำหรับรถยนต์และการขนส่งในประเทศไทย ควรจะเดินหน้าต่อไป และพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ส่งออกพลังงานจากพืชรายใหญ่ของโลก
"เรามีการส่งเสริมการปลูกปาล์ม อ้อย มันสำปะหลัง และพื้นที่สำหรับปลูกจำนวนมาก ดังนั้นหากว่าเรามีแนวนโยบายที่ชัดเจนและวางแผนในระยะยาว ก็จะเป็นโอกาส ทำให้เราสามารถส่งพืชพลังงานดังกล่าวออกไปขายทั่วโลก ในราคาที่เหมาะสม ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น โดยในความเห็นของตนนั้นมองว่า ไม่ได้ทำให้พืชอาหารแพงขึ้น"
อย่างไรก็ตามสำหรับแผนการผลักดันในเรื่องพลังงานจากเอทานอลและไบโอดีเซลของ ไทยนั้นยังต้องการนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐบาล โดยในเรื่องของเอทานอลสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์เบนซินยังมีประเด็นที่ต้อง จัดการอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันพลังงานสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลนั้นอาจจะน่าเป็นห่วงมาก และยังอยู่ในภาวะสุญญากาศ โดยหลายหน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชนได้มุ่งการแก้ไขปัญหาพลังงานสำหรับรถยนต์ เบนซินเป็นหลัก และอยากให้หน่วยงานต่างๆมีการแก้ไขปัญหาและวางแผนกันในระยะยาว เนื่องจากตลาดรถยนต์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล โดยเฉพาะรถปิกอัพที่มีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดรถไทย มาโดยตลอด
การผลักดันให้พลังงานไบโอดีเซล เป็นพลังงานทางเลือก คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากการปลูกปาล์มเพื่อให้ได้ผลผลิตเพื่อนำมาทำน้ำมันสำหรับผลิตไบโอ ดีเซลต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี และอีก 2 ปีจะเป็นการพัฒนาวิจัยศึกษาอีกทั้งการผลักดันไบโอดีเซลก็เป็นเรื่องยาก มากกว่าการผลักดันพลังงานจากเอทานอล ที่เห็นผลเร็วกว่า
อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลมีการผลักดันอย่างเป็นระบบและมีทิศทางที่ชัดเจนเชื่อ ว่า จะเป็นผลดีต่อประเทศไทย ที่เป็นผู้ค้าน้ำมันปาล์มเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยในปีที่ผ่านมาไทยมีการผลิตน้ำมันปาล์มราว 1.24 ล้านตันต่อปี โดยจำนวน 8.6 แสนล้านตันเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศและที่เหลือสำหรับการส่งออก คาดว่าในปี 2551 นี้ปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านตัน และมีโรงงานกว่า 60 โรงงานที่ผลิตน้ำมันดังกล่าว
"ประเด็นเรื่องไบโอดีเซลก็ยังต้องพูดอีกเยอะ โดยเฉพาะเรื่องการสร้างสมดุลเรื่องการบริโภคดีเซลและเบนซิน เพราะถ้าดีเซลยังใช้มาก เราก็ยังต้องนำเข้าน้ำมันดิบเข้ามาเท่าเดิม รัฐต้องเป็นกรรมการตัดสินอย่างยุติธรรมกับชาติ อย่างน้อยต้องออกเป็นพ.ร.บ.เหมือนสหรัฐอเมริกา ที่บอกว่าปี 2552 จะต้องผลิต 350 ล้านลิตรต่อวัน"
Friday, July 11, 2008
ปตท.แนะรัฐขึ้นNGVเป็นกก.ละ12บ. หวั่นตรึงราคา ซ้ำรอยLPG
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับราคาก๊าซธรรมชาติใช้ในรถยนต์ หรือ NGVให้สูงขึ้นเนื่องจากระดับราคาก๊าซ NGV ในปัจจุบันที่ตรึงไว้ที่ระดับ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นราคาที่อ้างอิงกับฐานราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ระดับ 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบปรับสูงขึ้นไปแตะระดับ 130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แล้ว ซึ่งหากรัฐบาลยังคงตรึงราคาจำหน่าย NGV ต่อไปจะเป็นปัญหาเช่นเดียวกับ LPG
ผู้บริหาร ปตท. กล่าวต่อว่า ดังนั้น ในปีหน้ารัฐบาลควรจะปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV เพิ่มเป็น 12 บาทต่อกิโลกรัม และเพิ่มเป็น 13 บาทต่อกิโลกรัม ในปี 2553 และในปีถัดไปปลดปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาดโลกแต่จะต้องมีราคาต่ำกว่า น้ำมันดีเซลร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม หากประชาชนหันมาติดตั้งก๊าซ NGV ในขณะนี้ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาในช่วง 5 เดือนหลังจากนี้ก็ถือว่า ยังมีความคุ้มค่ากับการลงทุนในการติดตั้ง
ปตท.ผุดซูเปอร์ปั๊มNGV 40 ตู้จ่าย นำร่อง 6 แห่ง รองรับรวดเดียว60คัน
ปตท. ผุดคอนเซ็ปต์ใหม่ 'ซูเปอร์ปั๊ม NGV' 40 ตู้จ่าย รองรับรถรวดเดียว60คัน นำร่อง 4 แห่ง พร้อมขอเช่าพื้นที่ รฟท.-รฟม. ที่'หมอชิต-พระรามเก้า'สร้างเพิ่มอีก 2 แห่ง
สถานีบริการ NGV สายใต้ใหม่ บนถนนพุทธมณฑลสาย 2, สถานีบริการ NGV ร่มเกล้า, สถานีบริการ NGV ราชพฤกษ์/ กัลปพฤกษ์ และสถานีบริการ NGV รังสิต ซึ่งสถานีบริการ NGV ทั้ง 4 แห่งนี้ ปตท.จะวางท่อก๊าซธรรมชาติพาดผ่านและเชื่อมต่อกับสถานีบริการก๊าซธรรมชาติโดย ตรง แทนการส่งก๊าซ NGV ด้วยรถขนส่ง ส่วนความพิเศษของซูเปอร์ปั๊ม NGV ที่มีตู้จ่ายตั้งแต่ 20-40 ตู้ (1 ตู้มี 2 หัวจ่าย) จะสามารถรองรับรถแท็กซี่ที่เข้ามาเติมก๊าซในเวลาเดียวกันได้ถึง 60 คัน
ซึ่งบริษัท ปตท. ต้องการขยายสถานีบริการในรูปแบบนี้เพื่อรองรับรถแท็กซี่โดยเฉพาะ แก้ไขปัญหาต้องใช้เวลารอเติมก๊าซ NGV เป็นเวลานาน
สำหรับ การลงทุนต่อสถานีบริการก๊าซธรรมชาติภายใต้คอนเซ็ปต์ ซูเปอร์ปั๊ม NGV นี้ จะใช้วงเงินประมาณ 70-80 ล้านบาท/แห่ง นอกจากนี้บริษัท ปตท.ยังได้ยื่นเรื่องขอเช่าพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต กับพื้นที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริเวณถนนพระรามเก้า เพื่อพัฒนาเป็นซูเปอร์ปั้ม NGV ด้วย
ขณะ นี้ ปตท.กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่า เงื่อนไขสัญญาเช่าจะเป็นอย่างไร สำหรับพื้นที่เช่าทั้งสองค่อนข้างเหมาะสม เนื่องจากบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตและพระรามเก้ามีพื้นที่ประมาณ 2-3 ไร่ เหมาะที่จะขยายเป็นสถานีบริการ NGV ขนาดใหญ่ รวมถึงเป็นพื้นที่ที่มีรถแท็กซี่จำนวนมากและเป็นจุดเชื่อมต่อของ ผู้โดยสารที่ต้องใช้บริการรถแท็กซี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนพระรามเก้าที่จะเชื่อมต่อกับ Airport Link ด้วย
" ปัญหาใหญ่ในขณะนี้ก็คือ รถแท็กซี่รอเติมก๊าซ NGV นานมาก เราต้องการแก้ปัญหานี้ และพบว่าซูเปอร์ปั๊มเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะรองรับได้รวดเดียว 60 คันเลย ก็จะร่นระยะเวลาลงไป ตอนนี้เรารอ แค่ทั้ง ร.ฟ.ท.และ รฟม.ยืนยันให้เราเช่าก็เข้าไปพัฒนาได้เลย และเชื่อมั่นว่าจะได้เห็นซูเปอร์ปั๊ม ทั้งที่หมอชิตและพระรามเก้าใน ปีนี้แน่นอน" นายณัฐชาติกล่าว
นายณัฐชาติกล่าวเพิ่มเติมว่า หาก ร.ฟ.ท.-รฟม.ไม่พิจารณาให้เช่าพื้นที่ ปตท.ก็มีแผนสำรองไว้ในกรณีนี้ ด้วยการหารือกับบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บ.ข.ส. ที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกันว่าอาจจะเข้าไปขอเช่าพื้นที่ แต่คงพัฒนาได้เพียงสถานีบริการ NGV ขนาดเล็กเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ไม่ได้มาตรฐานที่ 2-3 ไร่ตามที่ต้องการ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากสถานีบริการก๊าซหุงต้ม (LPG) บริเวณสถานีขนส่งหมอชิตที่จะรับเป็นดีลเลอร์จำหน่ายก๊าซ NGV เพิ่มเติมตู้จ่ายก๊าซภายในสถานีบริการเพื่อรองรับความต้องการใช้ในพื้นที่ ดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ นายณัฐชาติยังกล่าวถึงการดำเนินการตามแผน Roadmap NGV ของกระทรวงพลังงาน ที่ต้องการขยายการใช้ก๊าซ NGV เพื่อลดการใช้น้ำมันในภาคขนส่งลงให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี 2555 ว่า นอกเหนือจากการลงทุนเพื่อวางท่อก๊าซ 3 สาย ได้แก่ ท่อสายเอเชีย (สีเหลือง)- ท่อสายมิตรภาพ (สีแดง) และท่อสายเพชรเกษม (สีส้ม) ด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 51,650 ล้านบาทแล้ว
ตามไปดู ป้ายแดงติดก๊าซ
ใน ยุคน้ำมันแพงหูฉี่ ใครๆ ก็นิยมหันไปติดตั้งถังก๊าซ ทำให้ช่วงนี้ปั๊มก๊าซหรืออู่ที่รับติดตั้งถังก๊าซ รับทรัพย์รวยไม่รู้เรื่อง บางอู่ กว่าลูกค้าจะจองติดถังก๊าซได้ ต้องรอคิวเป็นเดือน แต่ก็ต้องยอม เพราะบางบ้านแบกจ่ายราคาค่าน้ำมันที่สูงขึ้นไม่ไหว
บางอู่ ยอดจองแต่ละเดือน มีเป็นร้อยๆ คัน ยิ่งถ้าเป็นอู่ที่ให้ราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ยอดจองรถติดก๊าซก็จะล้นทะลัก จนบางอู่ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้เพราะถังหมด ไม่มีของ เนื่องจากไม่ได้ผลิตถังก๊าซขายเอง
ผู้สื่อข่าวถาม "ยงยุทธ โกยมา" เจ้าของโตโยต้า อัลติส ป้ายแดง ไปติดตั้งถังก๊าซ ก่อนหน้านี้ "ยงยุทธ" ใช้รถปิกอัพ แต่สู้ราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 42 บาทไม่ไหว จึงเอารถปิกอัพไปเทิร์นเปลี่ยนมาเป็นรถเก๋งอัลติส แล้วติดถังก๊าซ เพื่อหวังประหยัดค่าใช้จ่าย
อู่ที่เขาเลือกอยู่แถวงามวงศ์วาน ในอู่มีรถบ้านจำนวนหลายสิบคัน ต่อคิวยาวเพื่อรอติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี ลูกค้าผู้มาติดตั้งก๊าซ
รายหนึ่งเล่าว่า "...ที่ต้องหันมาเติมก๊าซ เพราะราคาน้ำมันสูงเหลือเกิน (ครับ) ไม่ไหวจริงๆ"
ลูกค้า อีกราย โอดครวญว่า "...การเติมก๊าซน่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในบ้านได้ในทางหนึ่ง เพราะไม่เฉพาะน้ำมันอย่างเดียวที่แพง ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันก็แพงไปด้วย ไหนจะค่าใช้จ่ายลูกเรียนหนังสืออีก 2 คน ฉะนั้นส่วนไหนที่ลดค่าใช้จ่ายได้ก็ต้องลด"
"คณิต กิจพิพิธ" ผู้จัดการบริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบการรับติดตั้งถังก๊าซย่านงามวงศ์วาน เปิดเผยว่า ในช่วงนี้มีโทรศัพท์เป็นร้อยๆ สายโทร. เข้ามาขอติดถังก๊าซทั้งเอ็นจีวีและแอลพีจีมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นรถบ้านและ รถแท็กซี่
หรือลูกค้าหลายรายก็เปิดดูข้อมูลใน อินเทอร์เน็ต แล้วก็ขับรถมาติดเอง แต่บางรายก็ต้องผิดหวังกลับไป หรือไม่ก็ต้องรอคิวเป็นเดือนๆ เพราะเราต้องบริการลูกค้าที่โทร.จองคิวล่วงหน้าทางโทรศัพท์ก่อน มองในแง่รายได้ ช่วงนี้ก็ถือว่าดีขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่หลักแสน
แต่อีกมุมหนึ่งผลเสียก็มีคือ ความเสี่ยงเรื่องการดูแลลูกค้า เพราะลูกค้าบางคนไม่เข้าใจ เช่น เมื่อเรารอรับรถมาเพื่อจะติดตั้ง แต่ปรากฏว่ารถลูกค้าไม่สมบูรณ์ แต่เมื่ออธิบายไปแล้วเขาไม่เข้ายอม เราก็ต้องแก้ไขเครื่องยนต์ให้ลูกค้า บางคนไม่ยอม เราก็ต้องเสียเงิน บางคันเราแทบจะขาดทุนสะบั้นหั่นแหลก ดังนั้นก็ต้องชี้แจงให้ลูกค้าเข้าใจก่อน
อีกอย่าง ช่วงนี้แม้งานจะเยอะ รายได้ดี แต่บางครั้งก็ต้องนั่งตบยุง เพราะในแง่หนึ่งเราไม่มีถัง ถังไม่พอ ของขาด บางเดือนลูกค้าสั่งจองติดก๊าซกัน 90 กว่าคัน มีเงินมัดจำให้เราพร้อม แต่เราก็ไม่กล้ารับจอง ก็ต้องบอกให้ลูกค้ารอไปก่อนของจะมา
อย่างไร ก็ตาม ผมคิดว่าแนวโน้มในอนาคต คนใช้รถจะหันมาติดก๊าซกันมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันที่แพงสูงขึ้น จนยากที่จะคาดเดา อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการเติมน้ำมันถึง 3 เท่า
"คณิต" กล่าวว่า ช่วงนี้ลูกค้าส่วนใหญ่จะติดก๊าซแอลพีจี เพราะปัญหาที่เจอคือสถานีเติมก๊าซเอ็นจีวีมีน้อย ลูกค้าก็มองในระยะยาวว่าติดแอลพีจีดีกว่า เพราะเขาไม่อยากไปต่อคิวกับแท็กซี่ แต่เดี๋ยวนี้ก็เริ่มมีกลับกัน (นะ) คือ แท็กซี่จะไปเติมแอลพีจี ส่วนเอ็นจีวีก็จะเป็นพวกรถบ้าน
แต่ในอนาคต คนที่อยากติดเอ็นจีวีก็ใช่ว่ารถจะติดเอ็นจีวีได้ทุกรุ่น เพราะก๊าซตัวนี้จะติดไฟได้ต้องใช้อุณหภูมิที่สูง ต้องมี ตัวช่วยติดระเบิด แล้วตัวที่ติดระเบิดก็ไม่ได้ตรงกับสเป็กกับรถทุกรุ่น
"คณิต" เล่าว่า จริงๆ แล้วที่บริษัทรับติดตั้งถังก๊าซมานานแล้ว แต่เป็นอู่เล็กๆ ส่วนใหญ่แท็กซี่มาติดเยอะ รถบ้านก็มีบ้าง แต่ช่วงนี้กระแสติดก๊าซเริ่มบูม คนก็เริ่มบอกต่อกันปากต่อปาก คนที่ไม่คิดจะติดก็มาติด
ถามว่าตลาด ติดก๊าซมีคู่แข่งมั้ย จริงๆ ก็มี (นะ) จะเป็นในลักษณะที่โจมตีกันไปโจมตีกันมา แต่ตอนนี้ก็คงไม่มีเวลาไปโจมตีกัน มีแต่เวลาทำมาหากิน เพราะทุกคนงานก็เยอะ ขนาดถังที่จะติดยังไม่พอติดเลย ผมคิดว่าอู่ทุกอู่ตอนนี้ ทั้งเจ้าของทั้งช่าง ต้องตื่นเช้านอนดึก
แต่ถ้าของหมดเราก็รับเท่าที่ทำได้ เพราะช่างของเราก็ต้องมีการพักผ่อน ไม่งั้นอิดโรย แต่ช่วงนี้ก็เปิดอู่เช้าเร็วกว่าเดิม
พรุ่งนี้แล้วที่ "ยงยุทธ" จะได้ขับขี่อัลติสใหม่ที่มีถังก๊าซเป็นเชื้อเพลิง
น้ำมันแพงป่วนถังเอ็นจีวีขาดตลาดทั่วโลก ไทยลุ้นผุดโรงผลิตบิ๊กบึ้ม
น้ำมันแพงป่วนถังเอ็นจีวีขาดตลาดทั่วโลก ไทยลุ้นผุดโรงผลิตบิ๊กบึ้ม [23 มิ.ย. 51 - 03:43] |
|
ฮุนไดลุยโซนาต้า ซีเอ็นจี + ประกอบจากโรงงานธนบุรีประกอบรถยนต์-ทาทารุกกระบะซีนอนปลายปีนี้
แห่ เปิดตัวรถซีเอ็นจีรับน้ำมันแพง ฮุนไดซุ่มเปิดตัวโซนาต้า ซีเอ็นจี เทคโนโลยีเยอรมนี ประกอบที่โรงงานธนบุรี
ประกอบรถยนต์ ค่ายทาทาแอบพัฒนากระบะซีนอน ใช้ซีเอ็นจี 100 % ขายจริงปลายปีนี้ ส่วนจีเอ็มสุดปลื้ม ออพตร้า ซีเอ็น
จี ออร์เดอร์ล้น ต้องรอนานร่วมเดือน
แหล่งข่าวจาก บริษัท ฮุนได มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ในเดือนกรกฎาคม ปี 2551
นี้ ฮุนไดมีแผนเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่มาสนองตอบความต้องการของลูกค้าในภาวะน้ำมัน แพง โดยประกอบ ฮุนได โซนาต้า ซี
เอ็นจี ในรูปแบบของโออีเอ็มจากสายการประกอบรถยนต์ที่โรงงานธนบุรีประกอบรถยนต์ จังหวัดสมุทรปราการ และจะกลายเป็นรถ
ยนต์นั่งขนาดใหญ่รายแรกที่ติดต่อระบบก๊าซธรรมชาติหรือซีเอ็น จีรายแรกจากโรงงานประกอบโดยตรง ซึ่งสร้างความมั่นใจ
ให้กับผู้บริโภคมากกว่าการนำรถที่ติดตั้งระบบภายหลัง (Retrofit) โดยบริษัทจะตอกย้ำความมั่นใจในคุณภาพอีกขั้นด้วย
การรับประกันนาน 3 ปี หรือระยะทาง 100,000 กม.
"ปัจจุบัน มีการผลิต ฮุนได โซนาต้า ซีเอ็นจี ที่ประเทศเยอรมนี เราจึงติดต่อกับซัพพลายเออร์ที่นั้นให้มา
ช่วยพัฒนารถยนต์ก๊าซธรรมชาติที่ ประเทศไทย ซึ่งมาลงตัวที่รุ่นโซนาต้า เนื่องจากเป็นรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ มีพื้นที่
กว้างขวาง ห้องสัมภาระหลังเมื่อติดตั้งถังก๊าซซีเอ็นจีแบบแคปซูลแล้วยังมีพื้นที่เพียง พอเก็บถุงกอล์ฟได้ 2-3 ถุง
อย่างไรก็ตาม ราคารถโซนาโต้ ซีเอ็นจี อาจจะแพงขึ้นกว่ารุ่นเบนซินธรรมดาเพียงเล็กน้อย โดยบริษัทยอมรับภาระต้นทุน
ที่เพิ่งขึ้น เพื่อเป็นโปรโมชันดึงดูดใจลูกค้า"
นายอภิเชต สีตกะลิน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ทาทาในประเทศไทย เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า บริษัทกำลังทดสอบรถกระบะ ทาทา ซีนอน
เครื่องยนต์ซีเอ็นจี รถกระบะคันแรกในประเทศไทย ที่ใช้ก๊าซซีเอ็นจี เป็นเชื้อเพลิง 100% โดยปัจจุบัน ตัวแทนจำหน่าย
ทั่วประเทศ 23 แห่ง พร้อมรับจองกระบะซีนอนซีเอ็นจี แล้ว โดยมีกำหนดการเปิดตัวในช่วงปลายปี 2551 ซึ่งหากลูกค้าไม่
สามารถรอรับรถนานขนาดนั้น เราก็จะเสนอรถกระบะ ทาทา ซีนอน ดีเซล 2,200 ซีซี ซึ่งให้สมรรถนะสูง พร้อมๆกับการประหยัด
น้ำมัน ให้พิจารณาแทน
"รถกระบะ ทาทา ซีนอน ซีเอ็นจี ไม่ใช้ระบบผสมก๊าซกับน้ำมันดีเซล เหมือนที่มีใช้ในปัจจุบัน เพราะทาทาได้
พัฒนาเครื่องยนต์รุ่นใหม่ สำหรับก๊าซซีเอ็นจี 100% โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ขนาด 2100 ซีซี ใช้อะลูมิเนียม
เป็นส่วนประกอบสำคัญ ทำให้มีน้ำหนักเบา แต่แข็งแกร่ง ให้กำลังอัดที่สูงขึ้น ติดตั้งถังก๊าซซีเอ็นจี จำนวน 2 ถัง
ขนาด 70 ลิตรน้ำและขนาด 40 ลิตรน้ำ ติดตั้งระหว่างแชสซีส์กับพื้นกระบะ จึงไม่เกะกะพื้นที่เก็บสัมภาระและมีความ
ปลอดภัยสูง ด้วยวิธีการนี้ ทำให้ซีนอนซีเอ็นจี มีน้ำหนักใกล้เคียงกับรถกระบะซีนอน เครื่องยนต์ดีเซล เพราะไม่ต้อง
แบกรับเครื่องยนต์ดีเซลและถังน้ำมันที่มีน้ำหนักมาก"
แหล่งข่าวจาก บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในปี 2550 เชฟโรเลตได้เปิดตัว ออพตร้า
ซีเอ็นจี เป็นครั้งแรกในปี 2550 โดยตั้งเป้าการขายออพตร้า ซีเอ็นจีไว้ที่ 50 คัน/เดือน แต่เมื่อราคาน้ำมันปรับตัว
สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้รถหันมาใช้รถซีเอ็นจีกันมากขึ้น ทำให้ยอดขายของรถรุ่นนี้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น
500 คัน/เดือน จนมีปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ ทำให้ลูกค้าต้องรอรถนานประมาณ 1 เดือน