ดันไทยส่งออกพืชพลังงานพืช ชี้ไม่กระทบราคาอาหารคนแพง
การ ผลักดันพลังงานจากพืช (BioFuel) สำหรับการใช้ในรถยนต์และยานพาหนะกลายเป็นประเด็นที่หลายประเทศหวั่นวิตกว่า จะส่งผลให้ราคาอาหารสำหรับคนจะขาดแคลนและราคาพุ่งสูงขึ้น ทำให้ในบางประเทศออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดส่งเสริมพลังงานดังกล่าว หลายคนเกิดคำถามว่า หากประเทศไทยดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าว จะมีผลอย่างไร
สำหรับในต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรปนั้น หลายประเทศได้ออกมาวิจัยกันอย่างเป็นจริงเป็นจังว่า การนโยบายการส่งเสริมพลังงานจากพืชนั้นมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร และล่าสุดผลการวิจัยล่าสุดจาก ศ.เอ็ด กาลแล็ตเจอร์ ประธาน อาร์เอฟเอ ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลด้านพลังงานทดแทนและพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ได้ ของอังกฤษ ได้ออกมาเรียกร้องรัฐบาลอังกฤษว่า ควรจะมีการชะลอแผนการส่งเสริมพลังงานทางเลือกอย่าง ไบโอดีเซลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการขนส่งและรนถยนต์จนกว่าจะสามารถมั่นใจได้ ว่าการส่งเสริมดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อราคาพืชอาหารของคน และหากจะเริ่มต้นสนับสนุนก็ควรจะมีการวางแผนและกำหนดขอบเขตการปลูกพืช พลังงานดังกล่าวอย่างจำกัด
"อุตสาหกรรมพืชพลังงาน เป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใส แต่ทว่าก็ควรจะมีการควบคุมไม่ให้กระทบกับราคาพืชอาหารของมนุษย์ โดยเฉพาะประชากรส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยจนถึงปานกลาง ดังนั้นหน้าที่ของรัฐบาลก็คือ กำหนดขอบเขตและระยะเวลาการส่งเสริมที่เหมาะสม ไม่ให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชเพื่อการพลังงานจนละเลยการปลูกพืชสำหรับอาหาร"
นายรัช เคลลี่ เลขาธิการการขนส่งแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า อังกฤษได้มีการชะลอการส่งเสริมให้ใช้พลังงานทางเลือกออกไปอีก 3 ปี จากเดิมที่ต้องการสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทางเลือก 5% ภายในปี 2010 โดยแผนดังกล่าวจะเลื่อนไปเป็นปี 2013
"อังกฤษก็ยังสนับสนุนนโยบายของสหภาพยุโรปหรืออียูที่ต้องการให้มีการหันมา ใช้พลังงานทางเลือกในสัดส่วน 10% ในอุตสาหกรรมการขนส่งภายในปี 2020 แต่ทว่าจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ให้เกิดผลกระทบกับราคาอาหารสำหรับประชากร"
สำหรับในประเทศไทย นายธิบดี หาญประเสริฐ ประธานชมรมพลังงานไทยทำไทยใช้และรองประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทนเอทานอล -ไบโอดีเซล เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การส่งเสริมพลังงานทางเลือกสำหรับรถยนต์และการขนส่งในประเทศไทย ควรจะเดินหน้าต่อไป และพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ส่งออกพลังงานจากพืชรายใหญ่ของโลก
"เรามีการส่งเสริมการปลูกปาล์ม อ้อย มันสำปะหลัง และพื้นที่สำหรับปลูกจำนวนมาก ดังนั้นหากว่าเรามีแนวนโยบายที่ชัดเจนและวางแผนในระยะยาว ก็จะเป็นโอกาส ทำให้เราสามารถส่งพืชพลังงานดังกล่าวออกไปขายทั่วโลก ในราคาที่เหมาะสม ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น โดยในความเห็นของตนนั้นมองว่า ไม่ได้ทำให้พืชอาหารแพงขึ้น"
อย่างไรก็ตามสำหรับแผนการผลักดันในเรื่องพลังงานจากเอทานอลและไบโอดีเซลของ ไทยนั้นยังต้องการนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐบาล โดยในเรื่องของเอทานอลสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์เบนซินยังมีประเด็นที่ต้อง จัดการอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันพลังงานสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลนั้นอาจจะน่าเป็นห่วงมาก และยังอยู่ในภาวะสุญญากาศ โดยหลายหน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชนได้มุ่งการแก้ไขปัญหาพลังงานสำหรับรถยนต์ เบนซินเป็นหลัก และอยากให้หน่วยงานต่างๆมีการแก้ไขปัญหาและวางแผนกันในระยะยาว เนื่องจากตลาดรถยนต์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล โดยเฉพาะรถปิกอัพที่มีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดรถไทย มาโดยตลอด
การผลักดันให้พลังงานไบโอดีเซล เป็นพลังงานทางเลือก คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากการปลูกปาล์มเพื่อให้ได้ผลผลิตเพื่อนำมาทำน้ำมันสำหรับผลิตไบโอ ดีเซลต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี และอีก 2 ปีจะเป็นการพัฒนาวิจัยศึกษาอีกทั้งการผลักดันไบโอดีเซลก็เป็นเรื่องยาก มากกว่าการผลักดันพลังงานจากเอทานอล ที่เห็นผลเร็วกว่า
อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลมีการผลักดันอย่างเป็นระบบและมีทิศทางที่ชัดเจนเชื่อ ว่า จะเป็นผลดีต่อประเทศไทย ที่เป็นผู้ค้าน้ำมันปาล์มเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยในปีที่ผ่านมาไทยมีการผลิตน้ำมันปาล์มราว 1.24 ล้านตันต่อปี โดยจำนวน 8.6 แสนล้านตันเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศและที่เหลือสำหรับการส่งออก คาดว่าในปี 2551 นี้ปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านตัน และมีโรงงานกว่า 60 โรงงานที่ผลิตน้ำมันดังกล่าว
"ประเด็นเรื่องไบโอดีเซลก็ยังต้องพูดอีกเยอะ โดยเฉพาะเรื่องการสร้างสมดุลเรื่องการบริโภคดีเซลและเบนซิน เพราะถ้าดีเซลยังใช้มาก เราก็ยังต้องนำเข้าน้ำมันดิบเข้ามาเท่าเดิม รัฐต้องเป็นกรรมการตัดสินอย่างยุติธรรมกับชาติ อย่างน้อยต้องออกเป็นพ.ร.บ.เหมือนสหรัฐอเมริกา ที่บอกว่าปี 2552 จะต้องผลิต 350 ล้านลิตรต่อวัน"
Friday, July 18, 2008
ดันไทยส่งออกพืชพลังงานพืช ชี้ไม่กระทบราคาอาหารคนแพง
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment