ฮุนไดลุยโซนาต้า ซีเอ็นจี + ประกอบจากโรงงานธนบุรีประกอบรถยนต์-ทาทารุกกระบะซีนอนปลายปีนี้
แห่ เปิดตัวรถซีเอ็นจีรับน้ำมันแพง ฮุนไดซุ่มเปิดตัวโซนาต้า ซีเอ็นจี เทคโนโลยีเยอรมนี ประกอบที่โรงงานธนบุรี
ประกอบรถยนต์ ค่ายทาทาแอบพัฒนากระบะซีนอน ใช้ซีเอ็นจี 100 % ขายจริงปลายปีนี้ ส่วนจีเอ็มสุดปลื้ม ออพตร้า ซีเอ็น
จี ออร์เดอร์ล้น ต้องรอนานร่วมเดือน
แหล่งข่าวจาก บริษัท ฮุนได มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ในเดือนกรกฎาคม ปี 2551
นี้ ฮุนไดมีแผนเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่มาสนองตอบความต้องการของลูกค้าในภาวะน้ำมัน แพง โดยประกอบ ฮุนได โซนาต้า ซี
เอ็นจี ในรูปแบบของโออีเอ็มจากสายการประกอบรถยนต์ที่โรงงานธนบุรีประกอบรถยนต์ จังหวัดสมุทรปราการ และจะกลายเป็นรถ
ยนต์นั่งขนาดใหญ่รายแรกที่ติดต่อระบบก๊าซธรรมชาติหรือซีเอ็น จีรายแรกจากโรงงานประกอบโดยตรง ซึ่งสร้างความมั่นใจ
ให้กับผู้บริโภคมากกว่าการนำรถที่ติดตั้งระบบภายหลัง (Retrofit) โดยบริษัทจะตอกย้ำความมั่นใจในคุณภาพอีกขั้นด้วย
การรับประกันนาน 3 ปี หรือระยะทาง 100,000 กม.
"ปัจจุบัน มีการผลิต ฮุนได โซนาต้า ซีเอ็นจี ที่ประเทศเยอรมนี เราจึงติดต่อกับซัพพลายเออร์ที่นั้นให้มา
ช่วยพัฒนารถยนต์ก๊าซธรรมชาติที่ ประเทศไทย ซึ่งมาลงตัวที่รุ่นโซนาต้า เนื่องจากเป็นรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ มีพื้นที่
กว้างขวาง ห้องสัมภาระหลังเมื่อติดตั้งถังก๊าซซีเอ็นจีแบบแคปซูลแล้วยังมีพื้นที่เพียง พอเก็บถุงกอล์ฟได้ 2-3 ถุง
อย่างไรก็ตาม ราคารถโซนาโต้ ซีเอ็นจี อาจจะแพงขึ้นกว่ารุ่นเบนซินธรรมดาเพียงเล็กน้อย โดยบริษัทยอมรับภาระต้นทุน
ที่เพิ่งขึ้น เพื่อเป็นโปรโมชันดึงดูดใจลูกค้า"
นายอภิเชต สีตกะลิน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ทาทาในประเทศไทย เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า บริษัทกำลังทดสอบรถกระบะ ทาทา ซีนอน
เครื่องยนต์ซีเอ็นจี รถกระบะคันแรกในประเทศไทย ที่ใช้ก๊าซซีเอ็นจี เป็นเชื้อเพลิง 100% โดยปัจจุบัน ตัวแทนจำหน่าย
ทั่วประเทศ 23 แห่ง พร้อมรับจองกระบะซีนอนซีเอ็นจี แล้ว โดยมีกำหนดการเปิดตัวในช่วงปลายปี 2551 ซึ่งหากลูกค้าไม่
สามารถรอรับรถนานขนาดนั้น เราก็จะเสนอรถกระบะ ทาทา ซีนอน ดีเซล 2,200 ซีซี ซึ่งให้สมรรถนะสูง พร้อมๆกับการประหยัด
น้ำมัน ให้พิจารณาแทน
"รถกระบะ ทาทา ซีนอน ซีเอ็นจี ไม่ใช้ระบบผสมก๊าซกับน้ำมันดีเซล เหมือนที่มีใช้ในปัจจุบัน เพราะทาทาได้
พัฒนาเครื่องยนต์รุ่นใหม่ สำหรับก๊าซซีเอ็นจี 100% โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ขนาด 2100 ซีซี ใช้อะลูมิเนียม
เป็นส่วนประกอบสำคัญ ทำให้มีน้ำหนักเบา แต่แข็งแกร่ง ให้กำลังอัดที่สูงขึ้น ติดตั้งถังก๊าซซีเอ็นจี จำนวน 2 ถัง
ขนาด 70 ลิตรน้ำและขนาด 40 ลิตรน้ำ ติดตั้งระหว่างแชสซีส์กับพื้นกระบะ จึงไม่เกะกะพื้นที่เก็บสัมภาระและมีความ
ปลอดภัยสูง ด้วยวิธีการนี้ ทำให้ซีนอนซีเอ็นจี มีน้ำหนักใกล้เคียงกับรถกระบะซีนอน เครื่องยนต์ดีเซล เพราะไม่ต้อง
แบกรับเครื่องยนต์ดีเซลและถังน้ำมันที่มีน้ำหนักมาก"
แหล่งข่าวจาก บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในปี 2550 เชฟโรเลตได้เปิดตัว ออพตร้า
ซีเอ็นจี เป็นครั้งแรกในปี 2550 โดยตั้งเป้าการขายออพตร้า ซีเอ็นจีไว้ที่ 50 คัน/เดือน แต่เมื่อราคาน้ำมันปรับตัว
สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้รถหันมาใช้รถซีเอ็นจีกันมากขึ้น ทำให้ยอดขายของรถรุ่นนี้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น
500 คัน/เดือน จนมีปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ ทำให้ลูกค้าต้องรอรถนานประมาณ 1 เดือน
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment