Friday, May 16, 2008

ไม่​มี​ไม่​ได้​แล้ว​.. ​โลจิสติกส์ภาคขนส่งพึ่งใบบุญรัฐ​ ​หนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ​ ​ติด​'​เอ็นจีวี​'​ตัว​ช่วย​ลดต้นทุน​

ไม่​มี​ไม่​ได้​แล้ว​.. ​โลจิสติกส์ภาคขนส่งพึ่งใบบุญรัฐ​ ​หนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ​ ​ติด​'​เอ็นจีวี​'​ตัว​ช่วย​ลดต้นทุน​
    ​ผล​จาก​ราคาน้ำ​มันดี​เซลที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อ​เนื่อง​ ​และ​มี​แนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก​ใน​อนาคต​ ​ได้​ส่งผลกระทบต่อ​ผู้​ประกอบการโลจิสติกส์ภาคการขนส่งอย่างเต็มๆ​ ​ล่าสุดฉุดตัวเลขต้นทุนขนส่งต่อเที่ยวเพิ่มสูง​ถึง​ 55 % ​แล้ว​ ​ผลที่​เกิดขึ้นทำ​ให้​ผู้​ประกอบการเริ่มเคลื่อนไหว​ ​เรียกร้อง​ให้​รัฐบาล​ ​เร่งนโยบายลดต้นทุนพลังงานอย่าง​เป็น​รูปธรรม​ ​โดย​เฉพาะการออกมาตรการสนับสนุน​ใน​การปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์​จาก​น้ำ​มันดี​เซลมา​เป็น​ก๊าซเอ็นจีวี​ ​ซึ่ง​จะ​ช่วย​ลดต้นทุน​ได้​ถึง​ 3 ​เท่า​ของการ​ใช้​น้ำ​มัน

        ++​โอด​!​ต้นทุนพลังงานพุ่ง​ไม่​หยุด

        ​นายชุมพล​ ​สายเชื้อ​ ​ประธานบริษัทไทยโลจิสติกส์​ ​อัลลายแอนซ์​ ​จำ​กัด​ (ที​แอลเอ) ​เปิดเผย​ "ฐานเศรษฐกิจ​"​ถึง​สถานการณ์น้ำ​มันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อ​เนื่อง​ว่า​ ​จาก​การหารือร่วม​กัน​ของบริษัท​ผู้​ให้​บริการโลจิสติกส์กว่า​ 30 ​บริษัท​ใน​กลุ่มที​แอลเอ​ ​เห็นว่า​ ​ต้นทุนหลักของภาคธุรกิจขนส่ง​ ​คือต้นทุนพลังงาน​ ​ซึ่ง​ขณะนี้ราคาน้ำ​มัน​ได้​ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก​ ​และ​ยัง​มี​แนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อ​เนื่อง​ ​ทำ​ให้​ผู้​ให้​บริการด้านขนส่ง​ได้​รับผลกระทบอย่างหนัก​จาก​การแบกรับต้นทุนที่​เพิ่มขึ้น​ ​เนื่อง​จาก​บริษัท​ไม่​สามารถ​ปรับขึ้นค่าระวางสินค้า​ได้​

        ​ทั้ง​นี้ทางกลุ่ม​ทั้ง​ 30 ​บริษัทภาคขนส่งมี​ความ​เห็นร่วม​กัน​ ​ต้อง​การ​ให้​รัฐบาลเร่งแก้​ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน​ ​ด้วย​การออกมาตรการส่งเสริม​ผู้​ประกอบการ​ใน​การ​ใช้​พลังงานทางเลือกอย่างจริงจัง​ ​โดย​เฉพาะการติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี​ ​ซึ่ง​จะ​สามารถ​ลดต้นทุนด้านขนส่งของประ​เทศลง​ได้​อย่างมาก​ ​เนื่อง​จาก​หมวดการขนส่งหลักกว่า​ 80 %​ของประ​เทศ​ ​เป็น​การขนส่งทางถนน​หรือ​รถบรรทุก​

        ​ซึ่ง​ปัจจุบันมีรถที่จดทะ​เบียน​อยู่​ใน​ระบบประมาณ​ 70,000 ​คัน​ ​แต่มีรถที่ปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์มา​ใช้​ก๊าซเอ็นจีวี​แค่ประมาณ​ 10,000 ​กว่าคัน​ ​โดย​ส่วน​ใหญ่​เป็น​ผู้​ประกอบการราย​ใหญ่​หรือ​ผู้​ให้​บริการต่างชาติ

        ​"​ถ้า​รัฐบาล​จะ​ผลักดันจริงๆ​ ​ก็ควร​ต้อง​หา​แนวทาง​หรือ​มาตรการอะ​ไรมาปลดล็อก​ใน​เรื่องนี้​ให้​ได้​ ​ตัวอย่างรถที่จดทะ​เบียน​อยู่​ใน​ระบบที่​เป็น​รถบรรทุกสินค้าขณะนี้มีประมาณ​ 70,000 ​คัน​ ​แต่มีรถที่​เปลี่ยนเครื่องยนต์มา​ใช้​เอ็นจีวี​แค่​10,000 ​กว่าคัน​ ​ทั้ง​ที่​เอ็นจีวีถูกกว่าดี​เซล​ถึง​ 3 ​เท่า​ ​ซึ่ง​ถ้า​รัฐผลักดันเรื่องเอ็นจีวีอย่างจริงจัง​จะ​ช่วย​ลดต้นทุนพลังงานของประ​เทศลง​ได้​อย่างมหาศาล​ ​นอก​จาก​นี้รัฐควร​ช่วย​ดู​ใน​เรื่องของรถเที่ยวเปล่า​ ​ซึ่ง​หากมีมาตรการอะ​ไรออกมา​ช่วย​ใน​เรื่องนี้​ได้​ ​ก็​จะ​เป็น​อีกช่องทางที่​จะ​ช่วย​ลดต้นทุน​ให้​กับ​ผู้​ประกอบการขนส่ง"





        ++​ร้องรัฐหนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ​ติดเอ็นจีวี

        ​นายชุมพลกล่าวต่อว่า​ ​ถึง​แม้ขณะนี้​ผู้​ประกอบการ​ต้อง​การ​จะ​เปลี่ยนมา​ใช้​ก๊าซเอ็นจีวี​ ​แต่ก็​ยัง​มีปัญหาด้านสถานีบริการที่มีปริมาณ​ไม่​เพียงพอ​ ​และ​เงินทุนสำ​หรับการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์​

        ​ดัง​นั้น​เห็นว่า​ ​รัฐบาลควรเร่งออกมาตรการสนับสนุน​ใน​เรื่องนี้​ ​อาทิ​ 1.​การผลักดัน​ให้​เกิดสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวี​ใน​ปริมาณที่​เพียงพอ​กับ​ความ​ต้อง​การ​ 2.​สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ​ ​หรือ​สามารถ​ให้​ผู้​ประกอบการ​ใช้​รถบรรทุกค้ำ​ประ​กัน​แทนสินทรัพย์​ได้​ ​รวม​ถึง​การ​เข้า​มาดูด้านอุปกรณ์​ใน​การติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีที่​ยัง​มีราคา​แพง​อยู่​มาก

        ​ทั้ง​นี้​เห็นว่าหากรัฐบาล​สามารถ​ผลักดัน​ให้​รถบรรทุกมา​ใช้​ก๊าซเอ็นจีวี​ได้​ ​จะ​ทำ​ให้​ลดต้นทุนด้านขนส่งลง​ได้​อย่างมหาศาล​ ​ซึ่ง​จาก​ตัวเลข​ 70,000 ​คัน​ ​จะ​มีรถที่วิ่งจริง​อยู่​ประมาณ​ 50,000 ​คัน​

        ​แต่ละคัน​ใช้​น้ำ​มันเฉลี่ย​ 200 ​ลิตรต่อวัน​ ​ถ้า​เปลี่ยนมา​ใช้​ก๊าซเอ็นจีวี​จะ​ประหยัด​ได้

        ​ลิตรละ​ 20 ​บาท​ ​รถ​1 ​คันก็​จะ​ประหยัด​ได้​ 4,000 ​บาท​ ​ถ้า​ 500,000 ​คันก็​จะ​ประหยัด​ได้​มหาศาล

        ​อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา​ถึง​แม้​ผู้​ประกอบการด้านขนส่ง​ได้​มี​ความ​พยายามที่​จะ​ปรับขึ้นค่าระวางสินค้า​ ​แต่​ไม่​สามารถ​ทำ​ได้​ ​เนื่อง​จาก​ผู้​จ้าง​หรือ​เจ้าของสินค้า​ไม่​สามารถ​ไปปรับเพิ่มราคาสินค้า​ได้​ ​และ​หากมีการปรับขึ้นค่าระวาง​ผู้​ใช้​บริการก็​จะ​เลือกไป​ใช้​ผู้​ให้​บริการราย​อื่น​แทน​ ​เนื่อง​จาก​ปริมาณรถมีมากกว่า​ความ​ต้อง​การ​ ​นอก​จาก​นี้การปรับขึ้นของราคาน้ำ​มันที่​เฉลี่ยปรับขึ้นเดือนละ​ 4-5 ​ครั้ง​ ​ยัง​ทำ​ให้​ผู้​ประกอบการขนส่ง​ไม่​สามารถ​คำ​นวณต้นทุนที่​แท้จริง​ได้​

        ++​ระบุ​เอ็นจีวีทำ​ให้​ต้นทุนลด​ถึง​70%

        ​นายสัญญวิทย์​ ​เศรษฐโภคิน​ ​เลขาธิการสมาคมขนส่งสินค้า​ ​กล่าวว่า​ ​สถานการณ์ของธุรกิจโลจิสติกส์​ใน​ปีนี้​ ​ยัง​อยู่​ใน​สภาพทรงตัว​ ​โดย​ธุรกิจ​ยัง​คง​ได้​รับผลกระทบ​จาก​ราคาน้ำ​มันดี​เซล​ ​ที่​เพิ่มขึ้นต่อ​เนื่อง​ ​ส่งผล​ให้​กลุ่ม​ผู้​ประกอบการขนส่งสินค้า​ ​เริ่มหันไปลงทุนเพื่อเปลี่ยน​จาก​การ​ใช้​เครื่องยนต์ดี​เซลมา​เป็น​ก๊าซเอ็นจีวี​แทน​ ​ทั้ง​นี้​ ​แม้ต้นทุนการติดตั้งเอ็นจีวี​จะ​มีต้นทุนสูง​ ​โดย​ราคาติดตั้งต่อคันประมาณ​ 5 ​แสนบาท​ ​แต่ก็ถือว่า​เป็น​การลงทุนเพื่ออนาคต​ ​โดย​เฉพาะการลดค่า​ใช้​จ่ายน้ำ​มันเชื้อเพลิง​ ​เมื่อเทียบ​กับ​ก๊าซเอ็นจีวี​จะ​พบว่าการ​ใช้​ก๊าซเอ็นจีวีทำ​ให้​ต้นทุนลดลง​ถึง​ 70% ​จาก​ที่​เคยเติมน้ำ​มันดี​เซล​ใน​ราคา​ 100 ​บาท​ ​เมื่อเปลี่ยนมา​เป็น​เอ็นจีวี​ ​ต้นทุน​จะ​อยู่​ที่ประมาณ​ 30 ​บาท​เท่า​นั้น​

        ​อย่างไรก็ตามเครือข่ายการ​ให้​บริการของเอ็นจีวี​ ​ยัง​ไม่​แพร่หลาย​และ​ครอบคลุม​ทั่ว​ประ​เทศ​ ​ทำ​ให้​เกิดต้นทุนแฝง​ ​ซึ่ง​มา​จาก​การ​ใช้​ระยะ​เวลา​ใน​การเดินทางไป​ยัง​สถานี​เติมเอ็นจีวี​ ​ซึ่ง​อยู่​ห่าง​ไกล​ ​รวม​ถึง​ค่า​แรงของพนักงานขับรถที่​เพิ่มขึ้น​ ​ส่งผล​ให้​ต้นทุนที่ประหยัดจริงเหลือเพียง​ 30-40% ​เท่า​นั้น​ ​ดัง​นั้น​จึง​อยาก​ให้​สถานีบริการเอ็นจีวีขยายเครือข่าย​ให้​ครอบคลุมขึ้น​ ​เพื่อ​ให้​เกิดการประหยัดอย่างแท้จริง​

        ++ ​เสนอปตท​.​เพิ่มสถานีบริการ​

        ​ขณะที่นายยู​ ​เจียรยืนยงพงศ์​ ​ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประ​เทศไทย​ ​เปิดเผยว่า​ ​แม้ราคาน้ำ​มัน​จะ​ปรับตัวสูงขึ้น​ ​แต่​ผู้​ประกอบการขนส่งสินค้า​ยัง​ต้อง​ตรึงราคาค่าขนส่ง​ไว้​ ​และ​อาจ​ต้อง​ปรับลดค่าขนส่งลงตั้งแต่​เดือนนี้​(พ​.​ค​.)​จน​ถึง​ปลายปี​ ​เนื่อง​จาก​ใกล้​สิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต​ ​ทำ​ให้​จำ​นวนเที่ยวที่วิ่งของรถบรรทุกลดลง​ถึง​ 50 % ​ผู้​ประกอบการ​จึง​ต้อง​ปรับตัวเพื่อ​ความ​อยู่​รอด​ ​โดย​เฉพาะการปรับเปลี่ยนมา​ใช้​ก๊าซเอ็นจีวี​ ​เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะราคาน้ำ​มันที่ปรับตัวสูงขึ้น​

        ​แต่ขณะ​เดียว​กัน​ยัง​มีปัญหา​ใน​เรื่องของจำ​นวนสถานีบริการที่มีปริมาณ​ไม่​เพียงพอ​กับ​ความ​ต้อง​การ​ ​จึง​อยาก​ให้​รัฐบาลเร่ง​ให้​ ​บริษัท​ ​ปตท​.​จำ​กัด​ (มหาชน) ​เพิ่มปริมาณสถานีบริการ​ให้​มากขึ้นอีก​ 6​เท่า​จาก​ที่มี​อยู่​ ​เนื่อง​จาก​ขณะนี้รถบรรทุก​ต้อง​ใช้​เวลารอเติมก๊าซเอ็นจีวี​แต่ละครั้ง​ 3-4 ​ชั่วโมง​ ​ซึ่ง​เสียเวลา​เป็น​อย่างมาก​จึง​อยาก​ให้​ปตท​.​เร่งดำ​เนินการ​และ​วางแผนระยะยาว​ไม่​ให้​เกิดวิกฤติการขาดแคลนก๊าซเอ็นจีวี​

        ​นอก​จาก​นี้รัฐบาลควรเร่งดำ​เนินการออกกฎหมาย​หรือ​วิธีการ​อื่นๆ​ใน​การ​ช่วย​ผู้​ประกอบการรถบรรทุก​ใน​ประ​เทศ​ ​เนื่อง​จาก​มีต่างชาติ​เข้า​มาตั้งบริษัทจ้างคนไทยวิ่งรถ​และ​ใช้​วิธีกดราคา​ ​ทำ​ให้​ผู้​ประกอบการที่​เป็น​คนไทย​ได้​รับ​ความ​เดือดร้อน​ ​จึง​อยาก​ให้​รัฐบาล​เข้า​มาดู​เพื่อ​ให้​มีการแข่งขันอย่าง​เป็น​ธรรม

        ++​ส​.​อ​.​ท​.​จี้รัฐผลักดัน​เป็น​วาระ​แห่งชาติ​

        ​นายธนิต​ ​โสรัตน์​ ​รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประ​เทศไทย​(ส​.​อ​.​ท​.) ​เปิดเผยว่า​ ​ใน​ช่วง​ 6 ​เดือนที่ผ่านมาราคาน้ำ​มัน​ได้​ปรับขึ้นประมาณ​ 25% ​ทำ​ให้​ทุกอุตสาหกรรม​ได้​รับผลกระทบ​เป็น​ลูกโซ่​ ​อาทิ​ ​ต้นทุนด้านโลจิสติกส์​หรือ​ด้านการขนส่ง​ ​ทั้ง​ทางน้ำ​ ​ทางเรือ​ ​ทางอากาศ​ ​และ​ทางบก​ ​ได้​รับผลกระทบมาก​ส่วน​ใหญ่​จะ​เป็น​อุตสาหกรรมต่างจังหวัดที่ส่งสินค้า​เข้า​มาขาย​ใน​กรุงเทพฯ​ ​ที่​จะ​ทำ​ให้​การขนส่ง​จาก​เดิมที่ค่าขนส่ง​จะ​อยู่​ที่​ 35%​ของต้นทุน​ทั้ง​หมด​ ​แต่ขณะนี้ต้นทุนการขนส่ง​ได้​ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ​ 50-55% ​ของต้นทุน​ทั้ง​หมด

        ​อย่างไรก็ตามสำ​หรับสถานการณ์น้ำ​มันขณะนี้มองว่าน้ำ​มัน​ไม่​น่า​จะ​มี​โอกาสปรับตัวต่ำ​ลง​ได้​ ​เนื่อง​จาก​ความ​ต้อง​การ​ใช้​มีมากกว่าการผลิตประมาณ​1% ​ทำ​ให้​มีการแข่งขันด้านราคา​ ​รวม​ทั้ง​สถานการณ์ของเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัว​ ​และ​มองว่าราคาน้ำ​มัน​ยัง​มี​แนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อ​เนื่อง​ ​ทั้ง​นี้​เห็นว่ารัฐบาลควรมีนโยบายด้านพลังงานที่ชัดเจน​ ​เช่น​ ​การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่​เกี่ยวข้อง​กับ​อุปกรณ์​ใน​การประหยัดพลังงาน​ ​เช่น​ ​อุปกรณ์ที่ประกอบเครื่องยนต์​เอ็นจีวี​ ​ขณะ​เดียว​กัน​รัฐบาล​ต้อง​เร่งออกมาตรการสนับสนุน​ให้​ภาคการขนส่งหันมา​ใช้​ก๊าซเอ็นจีวี​ ​ด้วย​การผลักดัน​ให้​เป็น​วาระ​แห่งชาติ

        ​ด้านดร​.​อัทธ์​ ​พิศาลวานิช​ ​ผู้​อำ​นวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประ​เทศ​ ​มหาวิทยาลัยหอการค้า​ไทย​ ​กล่าวว่า​ ​ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยปีนี้คาดว่า​จะ​อยู่​ที่​ 20.3-21.5%​ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย​ใน​ประ​เทศ​(จีดีพี) ​สูงขึ้นต่อ​เนื่อง​เมื่อเทียบ​กับ​ปี​2545 ​ที่ต้นทุนโลจิสติกส์​อยู่​ที่​19.1% ​ของจีดีพี​ ​เนื่อง​จาก​ราคาน้ำ​มันมีราคา​แพงขึ้น​ ​ดัง​นั้น​ระยะสั้น​ผู้​ประกอบการ​ต้อง​ปรับปรุงระบบบริหารจัดการ​ ​สินค้าคงคลัง​ ​และ​คลังสินค้า​ ​เพื่อลดผลกระทบ​จาก​ต้นทุนค่าขนส่ง​ ​เช่น​ ​การส่งสินค้าตรงเวลา​ ​จะ​ทำ​ให้​ลดสินค้าคงคลัง​และ​ไม่​ต้อง​สต๊อกสินค้า​ไว้​มาก​ ​รวม​ทั้ง​เร่งสร้างพันธมิตรธุรกิจเพื่อ​ให้​การขนส่งสินค้า​ไม่​มี​เที่ยวเปล่า

        ++​เอดี​แอล​ ​ฝากขอ​.​ดู​แล"ฟิว​ ​เซอร์ชาร์จ"

        ​นายปรับปรุง​ ​ไพบูลย์​ ​กรรมการ​ผู้​จัดการบริษัท​ ​เอดี​แอล​ ​จำ​กัด​ ​หนึ่ง​ใน​สมาชิกสมาคมตัวแทน​ผู้​ขนส่งสินค้าทางอากาศ​ (ทาฟ่า) ​กล่าวว่า​ ​ใน​ส่วน​ของ​ผู้​ประกอบการคง​ไม่​ได้​รับผลกระทบ​เท่า​ใด​นัก​เนื่อง​จาก​ ​ค่า​ใช้​จ่ายที่​เพิ่มขึ้น​ได้​บวกเพิ่มไป​กับ​ค่าระวาง​หรือ​ค่าตั๋วเครื่องบิน​แล้ว​ ​แต่​ผู้​ที่​ได้​รับผลกระทบ​โดย​ตรงก็คือ​ผู้​ส่งออก​ทั่ว​ไป​ ​โดย​ใน​ความ​เห็น​ส่วน​ตัวมองว่าการที่สายการบินมีการปรับราคาขึ้นมาอย่างต่อ​เนื่อง​ไม่​ใช่​เรื่องที่​เหมาะสม​ ​และ​อัตราค่าระวางเครื่องบินน่า​จะ​อยู่​ต่ำ​กว่าปัจจุบันอย่างน้อย​ 50%

        ​ทั้ง​นี้​เห็นว่ากรมการขนส่งทางอากาศ​(ขอ​.) ​น่า​จะ​ลงมาดู​แล​ใน​เรื่องของการขึ้น​ ​ฟิว​ ​เซอร์ชาร์จ​ ​ของสายการบินบ้าง​ ​เพราะ​บางสายการบินก็มีการขึ้นราคาอย่าง​ไม่​สมเหตุสมผล​ ​โดย​ที่ผ่านมากรมการขนส่งทางอากาศก็​ได้​แต่​เพียงรับทราบแต่​ไม่​ได้​มี​ความ​ชัดเจนว่า​จะ​ลงมาดู​แล​ใน​เรื่องดังกล่าวอย่างไร​ ​โดย​เห็นว่า​ ​รัฐบาลควรตระหนัก​ถึง​ปัญหานี้​ ​และ​ลงมากำ​กับ​ดู​แลอย่าง​ใกล้​ชิดก่อนที่ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประ​เทศ​จะ​สูงไปกว่านี้​ ​เพราะ​ที่ผ่านมา​ 1 ​ปี​โครงการต่างๆ​ที่รัฐบาลเดิมวางเอา​ไว้​แล้ว​ไม่​สามารถ​ทำ​ได้​หลัง​จาก​การมีรัฐประหาร​ ​หลายโครงการก็ล่าช้าออกไป​จาก​เดิม​ ​ส่วน​สิ่งที่น่า​จะ​ช่วย​ลดผลกระทบ​จาก​ราคาน้ำ​มัน​ได้​ ​คือบริษัท​ผู้​ประกอบการด้านโลจิสติกส์​ ​ต้อง​นำ​เอา​เทคโนโลยี​เข้า​มา​ช่วย​ใน​การลดต้นทุน

No comments: