Tuesday, June 3, 2008

รถติดถังเอ็นจีวีนั้นไม่ได้เสี่ยงเพิ่มกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน จึงไม่ได้มีผลให้เกณฑ์การรับประกันภัยแตกต่างจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน

รถติดถังเอ็นจีวี ประกันภัยไม่ห่วง 'เสี่ยง' แนะลูกค้าเพิ่มทุนประกัน
    ใน ภาวะที่ราคาน้ำมันทะยานอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ผู้ใช้รถยนต์หลายคนเริ่มถอดใจ หันมาติดถังเอ็นจีวีแทน หวังช่วยผ่อนภาระเงินในกระเป๋า โดยเฉพาะความสะดวกที่น่าจะเพิ่มขึ้น เมื่อภาครัฐออกมารับปากเพิ่มสถานีบริการเป็น 355 สถานีภายในปีนี้

        อย่างไรก็ตาม ยังมีความวิตกของเจ้าของรถยนต์ ห่วงภาระเบี้ยประกันภัยที่จะตามมาหลังการติดถังเอ็นจีวี ซึ่งต้องเปลี่ยนความคิดซะใหม่ๆ เนื่องจากผู้บริหารบริษัทประกันภัยยืนยันมาแล้วว่า รถติดถังเอ็นจีวีนั้นไม่ได้เสี่ยงเพิ่มกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน จึงไม่ได้มีผลให้เกณฑ์การรับประกันภัยแตกต่างจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ทั้งกรณีเบี้ยประกัน และความคุ้มครองตามทุนประกัน

        ค่ายประกันภัยให้ข้อแนะนำกับเจ้าของรถยนต์ที่ติดถังเอ็นจีวีว่า

1. ควรแจ้งให้บริษัทประกันภัยรับทราบ โดยนำหลักฐานการติดตั้งถังก๊าซมายืนยัน และ

2. ควรพิจารณาเพิ่มทุนประกันเพื่อที่บริษัทประกันภัย จะได้รับผิดชอบในส่วนที่เป็นการติดตั้งเพิ่มเติมหากเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งโดยปกติทุนประกันมาตรฐานจะอยู่ที่ 80 % ของมูลค่ารถ ยกตัวอย่าง มูลค่ารถ 400,000 บาท ทุนประกันจะอยู่ที่ประมาณ 320,000 บาท แต่หลังติดถังเอ็นจีวีที่มีต้นทุนค่าติดตั้งประมาณ 60,000 บาทต่อคัน ส่งผลให้มูลค่ารถเพิ่มเป็น 460,000 บาท บริษัทประกันภัยจึงแนะนำให้ผู้ซื้อประกันภัยเพิ่มทุนประกัน และอาจทำให้เบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นบ้างตามทุนประกันที่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การตัดสินใจเพิ่มทุนประกันหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อประกันภัยเอง

        หากประเมินภาระเบี้ยประกันภัยเบื้องต้น ในส่วนที่ลูกค้าต้องควักกระเป๋าจ่ายเพิ่มนั้น อาจคิดได้ง่าย ๆ คือ ตกที่ประมาณ 2.5-4.0 % ของทุนประกันที่เพิ่มขึ้น ขึ้นกับประเภทของรถยนต์ เช่น ในกลุ่มรถขนาดเล็กต่ำกว่า 1600 ซีซี อย่างฮอนด้า แจ๊ซ หรือ โตโยต้า วีออส ซึ่งมูลค่ารถ 700,000-800,000 บาท เมื่อติดถัง เอ็นจีวี มูลค่า 50,000-60,000 บาท ทำให้มูลค่ารถเพิ่มเป็น 750,000-860,000 บาท ในกรณีที่มีทุนประกันเดิมอยู่ที่ 500,000 บาท เบี้ยประกันภัย 15,000-16,000 บาทต่อปี หลังติดถังเอ็นจีวีอาจเพิ่มทุนประกันเป็น 550,000 บาท เบี้ยประกันปรับเพิ่มขึ้นเป็น 17,000-18,000 บาทต่อปี เป็นต้น

        ขณะที่ในปัจจุบันมีค่ายประกันภัยหลายแห่งที่รับชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ในส่วนที่ลูกค้านำรถยนต์ไปติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม โดยรวมอยู่ในทุนประกันอยู่แล้ว เช่น แอกซ่าประกันภัย หรือ อาคเนย์ประกันภัย ที่รับชดเชยความเสียหายในส่วนที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ยกตัวอย่าง ลูกค้าติดตั้งเอ็นจีวีแต่ไม่ได้แจ้งให้บริษัททราบ ต่อมาเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยรับชดเชยในส่วนที่ติดตั้งเพิ่มเติมดังกล่าวให้ด้วย แต่ไม่เกิน 50,000 บาท


        หลังจากที่ภาครัฐบาลมีมาตรการประหยัดพลังงาน ด้วยการส่งเสริมรถยนต์หันมาใช้เอ็นจีวี 'ฐานเศรษฐกิจ' สำรวจความเห็นจากผู้บริหารระดับสูงค่ายประกันภัยรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่แนะนำให้ลูกค้าที่ติดถังเอ็นจีวีเพิ่มทุนประกัน

        'กี่เดช อนันต์ศิริประภา' กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด

        กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีฐานลูกค้าที่รับประกันรถติดถังก๊าซเอ็นจีวีประมาณ 5,000 คัน คิดเป็น 10% ของฐานลูกค้ามอเตอร์ 500,000 คัน โดยลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ยี่ห้อ โตโยต้าและฮอนด้า ปี 1, 2 และ 3 หรือเฉลี่ยไม่เกิน 7 ปี ซึ่งหากลูกค้าต้องการเพิ่มทุนประกัน เพื่อซื้อความคุ้มครองในส่วนเกินนี้ บริษัทจะคิดเบี้ยประกันในอัตราปกติ 2.5-3% ของจำนวนทุนประกันที่เพิ่มขึ้น หรือต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มประมาณ 1,000-2,000 บาท

        เช่น รถยนต์เล็ก ราคา 700,000 บาท เดิมทุนประกัน 500,000 บาท เบี้ยประกัน 15,000-16,000 บาทต่อปี เมื่อติดถัง เอ็นจีวี มูลค่า 50,000 บาท ต้องเพิ่มทุนประกันเป็น 550,000 บาท คิดเป็นเบี้ยประกันใหม่ 16,000-17,000 บาท


        ส่วน 'กฤตวิทย์ ศรีพสุธา' กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างกำหนดเบี้ยประกันและทุนประกันที่เหมาะสม เพื่อรับนโยบายสนับสนุนของภาครัฐในการประหยัดพลังงาน โดยจะช่วยให้ผู้ซื้อประกันภัยมีภาระลดลงเฉลี่ยประมาณ 2,500 บาท


        ขณะที่ 'ภูเบศร เทพทรงพัฒนา' หัวหน้าสายงานประกันภัยรถยนต์ บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างส่งแบบสอบถามถึงลูกค้า กรณีที่มีการปรับปรุงตัวรถโดยติดตั้งถังเอ็นจีวี ด้วยเหตุที่ยังมีลูกค้าจำนวนมากที่นำรถไปติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีแล้ว ไม่แจ้งกลับมาให้บริษัททราบ ซึ่งลูกค้าจะต้องแจ้งกลับพร้อมหลักฐานรับรองมาตรฐานการติดตั้งถังก๊าซเอ็นจี วีที่สามารถต่อทะเบียนได้ พร้อมกับให้พิจารณาเพิ่มทุนประกันรับความคุ้มครองเพิ่มด้วย

        โดยที่ขึ้นกับการตัดสินใจของลูกค้าเอง ที่ผ่านมามีลูกค้าใหม่ที่นำรถไปติดถังเอ็นจีวี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถเล็กต่ำกว่า 1600 ซีซี อาทิ โตโยต้า วีออส /อัลติส และ ฮอนด้า แจ๊ซ/ซิตี้

        ทางด้านผู้จัดการฝ่ายรับประกันภัยรถยนต์ บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

        'วันชัย วัฒนามานนท์' กล่าวว่า ขณะนี้มีลูกค้าที่ไปติดถังเอ็นจีวีเพิ่มเติม แจ้งกลับมายังบริษัทเฉลี่ยวันละเพียง 1-2 คัน ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ที่ทำประกันภัยชั้น 1 และ 3 ซึ่งบริษัทให้ความคุ้มครอง กรณีเกิดไฟไหม้อยู่แล้ว แต่ได้เสนอให้ลูกค้าเพิ่มทุนประกันเพื่อเพิ่มความคุ้มครองในส่วนที่เกินกรณี เกิดความเสียหาย เนื่องจากทุนประกันเดิมอาจจะไม่เพียงพอทำให้ลูกค้าขาดทุน

        ที่ผ่านมา มีกลุ่มรถบรรทุกขนส่งที่ติดถังเอ็นจีวีและเป็นลูกค้าที่บริษัทรับประกันภัย

        โดยในกลุ่มนี้จะติดถังประมาณ 6-8 ถังต่อคัน โดยเฉลี่ยมูลค่าของรถ 600,000 บาท ทุนประกันมาตรฐาน 80% ของราคารถหรือประมาณ 400,000-500,000 บาท เบี้ยประกัน 30,000-40,000 บาทต่อปี ขณะที่กลุ่มรถปิกอัพและรถยนต์ขนาดเล็กที่ติดถังเอ็นจีวี โดยเฉลี่ยมูลค่ารถยนต์ 600,000-700,000 บาท ทุนประกันประมาณ 400,000-600,000 บาท เบี้ยประกัน 17,000-18,000 บาท ส่วนใหญ่เข้ามาเพิ่มทุนประกันเป็น 450,000-650,000 บาท จ่ายเบี้ยประกันใหม่อยู่ที่ 20,000 บาท แต่ในกลุ่มนี้จะได้รับส่วนลด 10% ทำให้มีภาระจ่ายเบี้ยประกันเท่าเดิม


        "แนวโน้มในอนาคตกลุ่มรถใหม่ที่ผู้ผลิตรถยนต์ติดถัง เอ็นจีวี จะเพิ่มขึ้น แต่รถใหม่ที่ต้องติดเอง ขณะนี้อาจยังไม่มีการติดตั้ง เพราะการติดตั้งถัง เอ็นจีวี ที่ได้มาตรฐานยังมีราคาแพง ลูกค้าติดมาแล้วก็กลัวว่าต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่ม จากที่มีทุนประกันเดิมไม่พอหากเกิดความเสียหายส่วนเกิน ดังนั้น บริษัทจึงมอบส่วนลดให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ากลุ่มนี้ แจ้งกลับเข้ามาต่อประกันเพื่อทำความเข้าใจ" นายวันชัยกล่าว

        นอกจากนี้ จากแนวคิดล่าสุดที่ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อยู่ระหว่างการเจรจากับสมาคมประกันวินาศภัย โดยขอความร่วมมือให้บริษัทประกันภัยลดเบี้ยประกันภัยลง 10% ให้แก่รถที่ติดถังก๊าซเอ็นจีวีเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลช่วยประหยัดพลังงาน นั้น

        ขณะนี้มีทั้งค่ายประกันภัยที่พร้อมให้ความร่วมมือ และอีกหลายแห่งที่ไม่เข้าโครงการ

        เช่น บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด ที่ไม่เข้าโครงการส่วนลด 10% สำหรับรถเอ็นจีวีที่ทำประกันชั้น 1 เพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องแข่งขันเรื่องราคา หรือ ค่ายไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ที่ไม่ได้สนใจเข้าร่วมโครงการเพราะเห็นว่าไม่ได้ช่วยให้อัตราการสูญเสียตลาด ประกันภัยรถยนต์ลดลง ขณะที่นำสินประกันภัย พร้อมที่จะเข้าโครงการนี้เป็นระยะเวลาทดลอง 1 ปี โดยคาดว่าจะมีลูกค้าใหม่ที่เข้ามาทำประกันในโครงการนี้ 10% จากจำนวนรถที่รับประกันทั้งหมด 50,000-60,000 คันโดย 70-80% เป็นรถต่ออายุและอีก 20% เป็นรถใหม่ป้ายแดง เป็นต้น


        เพียงแต่ลูกค้าที่ซื้อประกันภัย ไม่ว่าจะเป็น รถใหม่ป้ายแดงที่มาติดตัวถัง เอ็นจีวี เพิ่มเติมทีหลัง หรือรถเก่าปี 2 ขึ้นไปแต่เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 7 ปี ที่ไปติดตัวถัง เอ็นจีวี ต้องได้รับมาตรฐานของกระทรวงพลังงาน และต้องแจ้งกับทางฝ่ายรับประกันภัยของบริษัทประกันภัยให้รับทราบด้วย

        โดยนำหลักฐานการติดตั้งถังก๊าซมายืนยัน

        "ฐานเศรษฐกิจ" สำรวจความเห็นจากผู้บริหารระดับสูงค่ายประกันภัยรถยนต์หลายแห่ง

        ถึงความพร้อมในการรับประกันภัยรถยนต์ที่ติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวี และเบี้ยประกันภัยที่ผู้ซื้อประกันภัยต้องรับภาระเพิ่มขึ้น

        'กี่เดช อนันต์ศิริประภา' กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด

        กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีฐานลูกค้าที่รับประกันรถติดถังก๊าซเอ็นจีวีประมาณ 5,000 กว่าคัน คิดเป็น 10% ของฐานลูกค้ามอเตอร์ 500,000 คัน โดยลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ยี่ห้อ โตโยต้าและฮอนด้า ปี 1, 2 และ 3 หรือเฉลี่ยไม่เกิน 7 ปี ซึ่งหากลูกค้าต้องการเพิ่มทุนประกัน เพื่อซื้อความคุ้มครองในส่วนเกินนี้ บริษัทจะคิดเบี้ยประกันในอัตราปกติ 2.5-3% ของจำนวนทุนประกันที่เพิ่มขึ้น หรือต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มประมาณ 1,000-2,000 บาท

        เช่น รถยนต์เล็ก ราคา 700,000 บาท เดิมทุนประกัน 500,000 บาท เบี้ยประกัน 15,000-16,000 บาทต่อปี เมื่อติดถัง เอ็นจีวี มูลค่า 50,000 บาท ต้องเพิ่มทุนประกันเป็น 550,000 บาท คิดเป็นเบี้ยประกันใหม่ 16,000-17,000 บาท

        ขณะที่ 'กฤตวิทย์ ศรีพสุธา' กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างกำหนดเบี้ยประกันและทุนประกันที่เหมาะสม เพื่อรับนโยบายสนับสนุนของภาครัฐในการประหยัดพลังงาน โดยจะช่วยให้ผู้ซื้อประกันภัยมีภาระลดลงเฉลี่ยประมาณ 2,500 บาท

        'ภูเบศร เทพทรงพัฒนา' หัวหน้าสายงานประกันภัยรถยนต์ บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด เล่าว่า ขณะนี้ยังมีลูกค้าอีกจำนวนมากที่นำรถไปติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการแจ้งกลับให้บริษัททราบ ซึ่งบริษัท อยู่ระหว่างส่งแบบสอบถามถึงการปรับปรุงตัวรถที่มีการติดตั้งถังเอ็นจีวี โดยที่ลูกค้าจะต้องแจ้งกลับพร้อมหลักฐานรับรองมาตรฐานการติดตั้งถังก๊าซเอ็น จีวีที่รถยนต์สามารถต่อทะเบียนได้ พร้อมกับให้พิจารณาเพิ่มทุนประกันรับความคุ้มครองเพิ่มด้วย โดยที่ขึ้นกับการตัดสินใจของลูกค้าเอง จะเลือกจ่ายเบี้ยเพิ่มเพื่อแลกกับความคุ้มครองความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหรือ ไม่ หากความเสียหายนั้นไม่ได้ถูกระบุในการรับประกัน

        ฐานลูกค้าใหม่ของบริษัท ที่นำรถไปติดถังก๊าซเอ็นจีวีส่วนใหญ่ เป็นรถเล็กต่ำกว่า 1600 ซีซี อาทิ โตโยต้า รุ่น วีออส /อัลติส และ ฮอนด้า แจ๊ซ/ซิตี้ โดยได้เพิ่มทุนประกัน ที่เพียงพอในการรับความคุ้มครอง และบริษัทคิดเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้นในอัตรา 2.5-4% ของทุนประกันที่เพิ่มขึ้น อาทิ เพิ่มทุนประกัน 50,000 บาทจากเดิม ต้องเบี้ยประกันเพิ่มอีก 2,000-3,000 บาทต่อปี

        ทางด้านผู้จัดการฝ่ายรับประกันภัยรถยนต์ บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

        'วันชัย วัฒนามานนท์' กล่าวว่า ขณะนี้มีลูกค้าที่ไปติดถังเอ็นจีวีเพิ่มเติม แจ้งกลับมายังบริษัทเฉลี่ยวันละเพียง 1-2 คัน ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ที่ทำประกันภัยชั้น 1 และ 3 ซึ่งบริษัทให้ความคุ้มครอง กรณีเกิดไฟไหม้อยู่แล้ว แต่ได้เสนอให้ลูกค้าเพิ่มทุนประกันเพื่อเพิ่มความคุ้มครองในส่วนที่เกินกรณี เกิดความเสียหาย เนื่องจากทุนประกันเดิมอาจจะไม่เพียงพอ ทำให้ลูกค้าขาดทุน

        ที่ผ่านมา มีกลุ่มรถบรรทุกขนส่งที่ติดถังเอ็นจีวีและเป็นลูกค้าที่บริษัทรับประกันภัย

        โดยในกลุ่มนี้จะติดถังประมาณ 6-8 ถังต่อคัน โดยเฉลี่ยมูลค่าของรถ 600,000 บาท ทุนประกันมาตรฐาน 80% ของราคารถหรือประมาณ 400,000-500,000 บาท เบี้ยประกัน 30,000-40,000 บาทต่อปี ขณะที่กลุ่มรถปิกอัพและรถยนต์ขนาดเล็กที่ติดถังเอ็นจีวี โดยเฉลี่ยมูลค่ารถยนต์ 600,000-700,000 บาท ทุนประกันประมาณ 400,000-600,000 บาท เบี้ยประกัน 17,000-18,000 บาท

        ส่วนใหญ่เข้ามาเพิ่มทุนประกันเป็น 450,000-650,000 บาทจ่ายเบี้ยประกันใหม่อยู่ที่ 20,000 บาท แต่จะได้รับส่วนลด 10% หรือจ่ายเบี้ยประกันเท่าเดิม

        นอกจากนี้ จากแนวคิดล่าสุดของ คปภ.ที่ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัย เสนอให้บริษัทประกันภัยลดเบี้ยประกันลง 10%ให้แก่รถที่ติดถังก๊าซเอ็นจีวีเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลที่สนับ สนุนการประหยัดพลังงานนั้น กลับพบว่าในขณะนี้มีค่ายประกันภัยเพียงบางค่ายเท่านั้นที่พร้อมให้ความร่วม มือ แต่อีกหลายค่ายไม่ได้เห็นความจำเป็นที่จะต้องลดเบี้ยประกันภัยดังกล่าว เช่น บริษัทแอกซ่าประกันภัย จำกัด ที่ไม่เข้าโครงการส่วนลด 10% สำหรับรถเอ็นจีวีที่ทำประกันชั้น 1 เพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องแข่งขันเรื่องราคา หรือ ค่ายไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ที่ไม่ได้สนใจเข้าร่วมโครงการเพราะเห็นว่าไม่ได้ช่วยให้อัตราการสูญเสียตลาด ประกันภัยรถยนต์ลดลง

        ขณะที่นำสินประกันภัย พร้อมที่จะเข้าโครงการนี้เป็นระยะเวลาทดลอง 1 ปี โดยคาดว่าจะมีลูกค้าใหม่ที่เข้ามาทำประกันในโครงการนี้ 10% จากจำนวนรถที่รับประกันทั้งหมด 50,000-60,000 คันโดย 70-80% เป็นรถต่ออายุและอีก 20% เป็นรถใหม่ป้ายแดง

        "มองว่า แนวโน้มในอนาคตกลุ่มรถใหม่ที่ผู้ผลิตรถยนต์ติดถัง เอ็นจีวี จะเพิ่มขึ้น แต่รถใหม่ที่ต้องติดเอง ขณะนี้อาจยังไม่มีการติดตั้ง เพราะการติดตั้งถัง เอ็นจีวี ที่ได้มาตรฐานยังมีราคาแพง ลูกค้าติดมาแล้วก็กลัวว่าต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่ม จากที่มีทุนประกันเดิมไม่พอหากเกิดความเสียหายส่วนเกิน ดังนั้น บริษัทจึงมอบส่วนลดให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ากลุ่มนี้ แจ้งกลับเข้ามาต่อประกันเพื่อทำความเข้าใจ" นายวันชัย กล่าว

No comments: