Sunday, June 15, 2008

น้ำมันกระฉูดดันยอดใช้ก๊าซพุ่ง “สุวิทย์” บี้ลด สรรพสามิตเอทานอลแจ้งเกิดอี 85

น้ำมันกระฉูดดันยอดใช้ก๊าซพุ่ง "สุวิทย์" บี้ลด สรรพสามิตเอทานอลแจ้งเกิดอี 85

นายเมตตา  บันเทิงสุข  อธิบดี กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย.คาดว่าบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) อาจต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มจาก ต่างประเทศอีกประมาณ 40,000 ตัน ในราคาตันละ 900 เหรียญสหรัฐฯและนำมาจำหน่ายในประเทศโดยที่ ปตท.ต้องรับภาระแทนประชาชนประมาณ 800 ล้านบาท สาเหตุที่ยอดการนำเข้าก๊าซหุงต้มของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะถูกนำไป ใช้ใน 3 ด้านคือ 1. ใช้ในภาคขนส่ง 2. ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และ 3. มีการลักลอบนำออกไป ตามแนวชายแดน ซึ่งเป็นปัญหาที่กรมศุลกากรต้อง เข้มงวดกวนขันการลักลอบอย่างหนัก

 

นายเมตตากล่าวว่า สาเหตุที่ก๊าซหุงต้มถูกลักลอบออกไปขายในประเทศเพื่อนบ้านเพราะว่าราคาขายปลีกขนาดถัง 15 กิโลกรัมในไทยอยู่ที่ 290 บาท แต่หากลักลอบออกไปขายในประเทศเพื่อน บ้านจะมีราคาที่ 800 บาทต่อถัง อย่างไรก็ตาม ธพ. ได้ร่วมมือกับกรมศุลกากรตั้งหน่วยเฉพาะกิจสกัดการลักลอบส่งออกก๊าซหุงต้ม ด้วยการใช้มาตรการที่เข้มข้น จึงเชื่อว่าการลักลอบส่งออกจะเริ่มลดลงในระดับหนึ่ง

 

"หาก รัฐบาลประกาศลอยตัวราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มสำหรับภาคขนส่งในเดือน ก.ค.เป็นต้นไป ก็จะทำให้ยอดการใช้ก๊าซหุงต้มแอลพีจีในรถยนต์ ลดลง เพราะรถยนต์ส่วนหนึ่งจะหันไปใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์หรือเอ็นจีวีแทน ซึ่งต้องรอดูว่า รัฐบาลจะลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มมากน้อยเพียงใด เพื่อให้เกิดส่วนต่างราคาให้คนหันไปใช้เอ็นจีวี โดย ขณะนี้ราคาเอ็นจีวีอยู่ที่ลิตรละ 8.50 บาท และก๊าซหุงต้มอยู่ที่ลิตรละ 10 บาท"

 

นาย ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับ กิจการพลังงาน (เรกกูเลเตอร์) เปิดเผยถึงการพิจารณาค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) งวดใหม่ที่จะใช้ในเดือน มิ.ย.-ก.ย.นี้ว่า เรกกูเลเตอร์มีมติเห็นชอบการเรียกเก็บค่าเอฟทีอยู่ที่ 62.85 สตางค์ต่อหน่วย หรือลดลงจากงวดก่อนหน้า 6.01 สต./หน่วย ส่งผลให้ ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนรอบใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 2.88 บาทต่อหน่วย ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับประชาชน เนื่องจากค่าไฟฟ้าถือเป็นส่วนหนึ่งของ ต้นทุนหลายชนิด ทั้งภาคการผลิต อุตสาหกรรมและ สินค้าเป็นการช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชน

 

ขณะ เดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้แจ้งว่าผู้ค้าน้ำมันได้แจ้งปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันมีผลตั้งแต่วันที่ 13 มิ.ย.โดยผู้ค้ารายอื่นๆ ยกเว้น ปตท. และบางจากได้ปรับขึ้นราคาขายปลีกกลุ่มน้ำมัน เบนซิน 50 สตางค์/ลิตร และดีเซล 80 สต./ลิตร ส่วน ปตท.และบางจากปรับขึ้นเฉพาะดีเซล 80 สต./ลิตร ส่งผลให้ราคาเบนซิน 95 ของเชลล์สูงถึง 42.39-43.39 บาท/ลิตร เอสโซ่ 42.09 บาท/ลิตร คาลเท็กซ์ 41.59 บาท/ลิตร ส่วนของ ปตท.และบางจากอยู่ที่ 41.59 บาท/ลิตร

 

ส่วนเบนซิน 91 รายอื่นๆที่ 40.99 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 ที่ 37.39 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 ที่ 36.59 บาท/ลิตร โดย ปตท.และบางจากขาย ถูกกว่ารายอื่น 50 สต./ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลรายอื่นๆอยู่ที่ 42.14 บาท/ลิตร ปตท.และบางจากถูกกว่า 80 สต./ลิตร อยู่ที่ 41.34 บาท/ลิตร ทั้งนี้ แม้จะปรับ ขึ้นราคารอบนี้แล้วแต่ปรากฏว่าค่าการตลาดน้ำมันของผู้ค่าน้ำมันก็ยังต่ำอยู่ ทำให้มีแนวโน้มว่าในระหว่างวันที่ 14-15 มิ.ย. นี้ผู้ค้าน้ำมันอาจปรับขึ้น ราคาขายปลีกเบนซินและดีเซลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

 

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกฯและ รมว. อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันเอทานอล 85 หรืออี 85 ตามมติ ครม.ว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปเพราะมีรายละเอียดหลายอย่างที่ต้องขอความเห็นชอบ จากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ทั้งจากกระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังในเรื่อง ของประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวข้องกับอี 85 รวมถึงอัตราภาษีสรรพสามิตของเอทานอล ซึ่งทั้งหมดรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กระทรวง ควร ต้องตั้งโต๊ะหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการเพื่อกำหนดนโยบายให้เกิดข้อยุติที่ชัดเจนเพื่อทำให้การส่งเสริมอี 85 เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

"เรื่องอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับเอทานอล ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะช่วยดึงดูดให้คนหันมาใช้อี 85 ได้มากขึ้น แต่ปัจจุบันโครงสร้างภาษีน้ำมันอี 10, อี 20 หรืออี 85 ยังมีความลักหลั่นกันมาก หากกรมสรรพสามิตปรับภาษีอี 85 ให้เท่ากับอี 10 หรือคิดเฉพาะภาษีน้ำมันอย่างเดียวจะทำให้มีส่วนต่างเพิ่มขึ้นถึง 2.02 บาทต่อลิตร ก็จะยิ่งช่วยสร้างแรงดึงดูดให้มากขึ้น".

Saturday, June 14, 2008

ถังแอลพีจีต้องมีตรามอก. ขนส่งเตือนรถติดตั้ง ก๊าซ-พร้อมชื่อผู้ผลิต-วันทดสอบถัง

ถังแอลพีจีต้องมีตรามอก. ขนส่งเตือนรถติดตั้ง ก๊าซ-พร้อมชื่อผู้ผลิต-วันทดสอบถัง

นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ปัจจุบัน มีเจ้าของรถจำนวนมาก นำรถไปติดตั้งอุปกรณ์สำหรับใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิง ทำให้ปริมาณถังก๊าซ LPG มีไม่เพียงพอ ผู้ติดตั้งบางรายจึงได้นำถังเก่าที่ไม่ได้มาตรฐานมาติดตั้งแทน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเจ้าของรถหรือผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นได้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว จึงขอให้เจ้าของรถตรวจสอบถังที่นำมาติดตั้งว่าได้ มาตรฐานหรือไม่ โดยถังบรรจุก๊าซ LPG สำหรับติดตั้งในรถยนต์นั้น จะต้องผลิตจากวัสดุที่ได้มาตรฐานและผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยบนตัวถังจะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หมายเลขลำดับถัง (Serial Number) วัสดุที่ใช้ผลิต น้ำหนักถัง ขนาดความจุ และวันเดือนปีที่ทดสอบถังกำกับอยู่ ซึ่งเจ้าของรถควรตรวจสอบก่อนให้ผู้ติดตั้งนำไปติดตั้งในรถยนต์ โดยหลังจากที่ติดตั้งอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว เจ้าของรถจะต้องนำรถเข้ารับการตรวจและทดสอบความปลอดภัย จากผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับ ความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก และไปดำเนินการแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงยังสำนักงานขนส่ง ที่รถจดทะเบียนไว้ด้วย

รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ยังได้ฝากเตือนไปยังเจ้าของรถหรืออู่ติดตั้ง ที่นำถังบรรจุก๊าซหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือนมาติดตั้งในรถยนต์โดยรู้เท่าไม่ ถึงการณ์ หรือเพื่อต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายว่า การกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากถังที่ใช้บรรจุก๊าซหุงต้มไม่ได้ผลิตมาสำหรับใช้ติดตั้งในรถยนต์ ซึ่งหากนำไปติดตั้งอาจเกิดการรั่วไหลหรือระเบิดขึ้นจนเป็นอันตรายได้.

NGV เอื้ออาทร ราคาอยู่ที่ 3 หมื่นกว่าบาท ถือว่ายังไม่บรรลุเป้าหมาย จึงให้เจรจา กับผู้ผลิตถังก๊าซจากประเทศอิตาลีและอินเดียต่อไป

"เลี้ยบ" ไอเดียกระฉูด

จาก ปัญหาราคาน้ำมันดิบใน ตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมา อย่างต่อเนื่อง ในขณะนี้ได้ส่ง ผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ทำให้รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่ง จัดทำมาตรการทางด้านการคลังมาบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น

สำหรับราย ละเอียดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุดนี้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มาตรการชุดนี้จะเน้นไปที่เรื่องของการเพิ่มรายได้และขยายโอกาสให้กับประชาชน ได้ช่องทางในการทำมาหากินเพิ่มขึ้น ซึ่งจะไปเสริมกับมาตรการลดค่าใช้จ่าย โดยการสนับสนุนให้ประชาชนหันไปใช้พลังงานทดแทนทั้งอี 85 และ NGV

ส่วน การเพิ่มรายได้ กระทรวงการคลังกำลังศึกษาอยู่หลายโครงการ เช่น 1)โครงการจัดหาที่ดินทำกินให้กับประชาชน ในส่วนของกระทรวงการคลังได้สั่งการให้กรมธนารักษ์ไปคัดเลือกที่ราชพัสดุที่ มีทำเลดีๆ มาทำเป็นสถานที่จัดจำหน่ายสินค้า โอท็อปโดยจะคิดค่าเช่าในราคาถูก และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทุกแห่งเป็นผู้คัดเลือกลูกค้า SMEs นำสินค้ามาขายในสถานที่ที่กระทรวงการคลังจัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งในเบื้องต้นได้รับรายงานจากกรมธนารักษ์ว่ามีอยู่ 3 แปลง ได้แก่ อาคารบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บบส.) ที่ปิดกิจการและส่งมอบพื้นที่คืนแล้ว, ที่ราชพัสดุของกรมชลประทานซึ่งปัจจุบันเป็นตลาดสด และอีกแห่งจะอยู่แถวสมุทรปราการ

และในวันพุธที่ 11 มิ.ย.นี้ น.พ.สุรพงษ์จะเรียกผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทุกแห่งมาหารือใน รายละเอียดและเตรียมการจัดงานมหกรรมขายสินค้าราคาถูกที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในระหว่างวันที่ 17-20 ก.ค.เป็นโครงการนำร่อง

นอกจาก นี้ น.พ.สุรพงษ์ยังได้ทำหนังสือถึงการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อขอใช้พื้นที่ใต้ทางด่วนนำไปให้ประชาชนได้เข้าไปขายของ แต่ที่อยากทำมากที่สุดคือร้านค้าเล็กๆ คีออสก์ (kiosk) ที่อยู่ตาม ท้องถนน สี่แยก สถานที่ท่องเที่ยว และสวนสาธารณะ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ทราบว่าสาเหตุใดร้านค้าเล็กเหล่านี้มีปัญหาอะไรถึงได้สูญ หายไปจากระบบ

2)โครงการเพิ่มรายได้ให้กับข้าราชการครู ในวันอังคารที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการหารือกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรายละเอียดของโครงการนี้ ในหลักการก็จะให้ครูเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพให้กับนักเรียนและประชาชนทั่วไป นอกเวลาราชการ อาทิ หลักสูตรภาษาอังกฤษ, ทำอาหาร, นวดแผนไทย เป็นต้น ซึ่งครูเองก็จะมีรายได้ เพิ่มขึ้น ส่วนผู้เข้ารับการอบรมจะมีโอกาสออกไปหารายได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่ผ่าน การอบรม

ส่วนกรมอาชีวศึกษาจะมีโครงการ ฟิท อิท เซ็นเตอร์ โดยจะให้โรงเรียน อาชีวศึกษาในสังกัดออกไปเปิดศูนย์บริการประชาชนตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อปรับแต่งเครื่องยนต์ในรถยนต์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และประหยัดพลังงาน

และ ในระหว่างที่มาตรการในการเพิ่มรายได้และมาตรการชะลอรายจ่ายยังไม่ได้มีการ ดำเนินการอย่างเต็มที่นั้น ในระหว่างนี้จะต้องมีมาตรการมาช่วยเหลือกลุ่มคนจน หรือผู้ที่มีรายได้น้อย โดยการแจกเป็นคูปองเพื่อให้ประชาชนนำไปใช้ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งในขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือน ก.ค.นี้

ส่วนมาตรการสนับสนุนให้ประชาชน หันไปใช้พลังงานทางเลือก โดยเฉพาะโครงการติดตั้งก๊าซ NGV เอื้ออาทร ขณะนี้ได้มีการเร่งรัดกันอย่างเต็มที่ ล่าสุดทาง ปตท.ได้มีการต่อรองราคากับบริษัทผู้ผลิตถังก๊าซ NGV ในต่างประเทศ และเมื่อนำมารวมกับอุปกรณ์การติดตั้งอื่นๆ แล้วมีราคาอยู่ที่ 3 หมื่นกว่าบาท ถือว่ายังไม่บรรลุเป้าหมาย จึงให้เจรจา กับผู้ผลิตถังก๊าซจากประเทศอิตาลีและอินเดียต่อไป

Wednesday, June 11, 2008

โตโยต้าประกาศนิวโปรเจ็กต์ขึ้นไลน์ผลิต'คัมรี่ ไฮบริด' และโคโรลล่าCNG โรงงานในไทยภายในปีนี้

โต โยต้าลั่นครองผู้นำตลาดรถนั่งขนาดกลาง ประกาศนิวโปรเจ็กต์ขึ้นไลน์ผลิต'คัมรี่ ไฮบริด' และโคโรลล่าCNG โรงงานในไทยภายในปีนี้ ส่วนอี85ขอดูตลาด2ปีว่าเวิร์คหรือไม่

 

มิทซึฮิโระ โซโนดะ นายใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ประกาศแผนการผลิตรถยนต์ไฮบริดในไทย พร้อมเปิดเผยถึงความก้าวหน้าในการพัฒนารถยนต์ซีเอ็นจี ที่จะแนะนำสู่ตลาดภายในปีนี้ ที่ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ

นายมิทซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเเผยว่า  โตโยต้ามีความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งยึดถือเป็นปรัชญาของโตโยต้าในการสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่ ล้ำสมัย ซึ่งแผนงานขั้นต่อไปของการผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ Ultimate eco-friendly vehicle คือการประกอบรถยนต์ไฮบริดในประเทศไทยในรถยนต์นั่งคัมรี(รถยนต์ที่ใช้พลังงาน ผสมระหว่างน้ำมันกับไฟฟ้า)  ซึ่งเรามีความเชื่อมั่นว่า คัมรี ไฮบริดใหม่นี้  จะทำให้โตโยต้ารักษาความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์นั่งระดับกลาง และนำประโยชน์ให้กับลูกค้าชาวไทย ในด้านการใช้รถยนต์ที่สามารถประหยัดน้ำมันกว่าเครื่องยนต์ทั่วไป โดยใช้ โรงงานประกอบรถยนต์ในโรงงานเกตต์เวย์ที่ฉะเชิงเทรา นับเป็นโรงงานแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประกอบรถยนต์คัมรีไฮบริด

ส่วนการผลิตมีกำลังการผลิตเบื้องต้น 9,000 คันต่อปี จะเริ่มผลิตในปี 2552 ส่วนราคายังไม่สามารถกำหนดได้เนื่องจากต้องคำนวณต้นทุนของแบตเตอรี่และ มอเตอร์ที่จะนำมาประกอบก่อน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับรถประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สำหรับความก้าวหน้าในการประกอบรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ซีเอ็นจี นั้น นายโซโนดะ  กล่าวว่า"โตโยต้าขอขอบคุณ TMAP-EM ที่ได้พัฒนาและทดสอบรถยนต์ที่ใช้พลังงาน ซีเอ็นจี ในโคโรลล่า โดยได้ทำการพัฒนาให้เครื่องยนต์มีความเหมาะสมสำหรับเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบส่งเชื้อเพลิงและถังเชื้อเพลิง ซึ่งทั้งหมดนี้จะติดตั้งจากโรงงานเกตเวย์โดยตรง โดยเรามั่นใจว่า รถยนต์ซีเอ็นจีของโตโยต้า มีความทนทาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เรามั่นใจในคุณภาพของรถยนต์รุ่นนี้ โดยมีระยะเวลารับประกัน 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร และคาดว่าจะแนะนำเข้าสู่ตลาดภายในปีนี้"
 
"รถยนต์ไฮบริดนั้น เป็นเทคโนโลยียานยนต์ระดับสูง   ที่ให้ทั้งความยอดเยี่ยมในด้านสมรรถนะการขับขี่ ลดการใช้น้ำมันและมีมลพิษในไอเสียต่ำกว่าเครื่องยนต์ทั่วไป โดยเครื่องยนต์ไฮบริดนั้นสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เรามีความมั่นใจว่า คัมรี ไฮบริด จะเป็นที่ชื่นชอบและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าชาวไทยอีกรุ่นหนึ่ง " นายโซโนดะ กล่าว และว่า

ส่วนเรื่องการที่รัฐบาลสนับสนุนน้ำมันอี 85 ทางโตโยต้าขอเวลาพิจารณาขยายสายการผลิตระยะเวลาประมาณ 2 ปี และจะดูว่าตลาดมีความต้องการมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ราคาน้ำมันอี 85 ควรถูกกว่าน้ำมันเบนซินปกติลิตรละ 15-20 บาท เพื่อจูงใจให้คนหันมาใช้

ด้านนายชิเกรุ  มูราอิ  กรรมการผู้จัดการ บริษัท   สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด เปิดเผยว่าบริษัทฯมีแผนเพิ่มการลงทุนของบริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด ในการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล คอมมอนเรล ตอบสนองความต้องการของตลาดโลกในโครงการไอเอ็มวี มูลค่าการลงทุนกว่า 5,400 ล้านบาท

"การขยายการลงทุนในครั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการเครื่องยนต์ดีเซลของตลาดรถยนต์ทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ ที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นอย่างมาก โดยคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2553 นั้น จะมีความต้องการเครื่องยนต์ดีเซลสูงถึง 300,000 เครื่อง การขยายการลงทุนในครั้งนี้จะทำให้ บริษัท สยามโตโยต้า อุตสาหกรรม จำกัด มีความสามารถในการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลจาก 200,000 เครื่อง เป็น 350,000 เครื่อง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 75  และมีการจ้างงานเพิ่มเติมอีก 700 คน จากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 2,300 คน" นายมูราอิกล่าว

สำหรับมูลค่าการลงทุนของบริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัดในครั้งนี้ เป็นจำนวนเงินสูงถึงกว่า 5,400 ล้านบาท เพื่อขยายพื้นที่ส่วนของโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรี คาดว่า    บริษัท    สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด จะสามารถเริ่มการผลิตเครื่องยนต์ในส่วนของโรงงานใหม่นี้ได้ภายในต้นปี 2553 และขอขอบคุณในความร่วมมืออย่างแข็งขันจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแเฟคเจอ-ริ่ง จำกัด (TMAP-EM) ในการสนับสนุนการลงทุนครั้งใหม่นี้

บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด มหาชน ดำเนินธุรกิจผลิตเครื่องยนต์ดีเซล เบนซิน และชิ้นส่วนเครื่องยนต์  เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งในประเทศและส่งออก โดยเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2530    มีเงินทุนจดทะเบียน 850 ล้านบาท

ทาทาบุกกระบะ CNG ปลายปี 51 cng 2 ถัง 70+40 L 2100 cc น้ำหนักน้อยลง 70 kg. เครื่อง Aluminium

ทาทาบุกกระบะ CNG ปลายปี + ส้มหล่นคนแห่สนเครื่องดีเซลเล็ก-ประธานเอ็กซ์โปชี้รถประหยัดมาแรง
ทา ทา ส้มหล่น ดีเซลแพง คนแห่ใช้กระบะเครื่องยนต์เล็ก ชี้ ซีนอน เครื่อง 2.2 ลิตร DICOR ให้แรงบิดจัดจ้าน ส่วนปลายปี ส่งกระบะ CNG 100% เครื่องยนต์ใหม่ 2.1 ลิตรน้ำหนักเบา รุกตลาด ประธานมอเตอร์เอ็กซ์โปชี้คนแห่ซื้อรถราคาถูกและรถเชื้อเพลิงใหม่



นายอภิเชต สีตกะลิน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ทาทาในประเทศไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลก ทำให้ประชาชนหันมาซื้อรถที่ประหยัดพลังงาน และรถพลังงานทางเลือกใหม่มากขึ้น ซึ่งตรงกับการพัฒนารถยนต์ใหม่ของทาทาพอดี ไม่ว่าจะเป็นรถกระบะทาทา ซีนอน ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 2200 ซีซี ซึ่งมีความจุกระบอกสูบน้อยกว่ารถกระบะทั่วไปในท้องตลาดที่ใช้เครื่องยนต์ ขนาดใหญ่ขนาด 3000 ซีซี และขนาด 2500 ซีซี และในช่วงปลายปี ทาทาจะเปิดรถกระบะซีนอน รุ่นใหม่ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดหรือก๊าซCNG 100% ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง เนื่องจากก๊าซ CNG มีราคาเพียง 8.50 บาท/กก. ซึ่งนับว่าถูกกว่าน้ำมันดีเซลมาก



ตั้งแต่ ทาทา เริ่มต้นพัฒนารถกระบะขนาด 1 ตัน เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ก็ได้มุ่งเป้าพัฒนารถกระบะที่สามารถใช้พลังงานได้อย่างหมดจด วิวัฒนาการของรถกระบะที่ผ่านมา ไทยจะใช้รถกระบะขนาดเครื่องยนต์แค่ 2200 ซีซี แต่เนื่องจากเครื่องรุ่นเดิมจะปล่อยมลพิษในไอเสียค่อนข้างมาก จึงต้องการพัฒนาให้มีความจุกระบอกสูบมากขึ้น เป็น 2500 ซีซี และ 3000 ซีซี แต่เมื่อมีการนำระบบคอมมอนเรลมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลยุคใหม่ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังเกินความต้องการอีกต่อไป



"รถกระบะที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องมีแรงม้าสูงๆ รถกระบะต้องการแค่แรงบิดจัดๆ ระดับ 320 นิวตัน-เมตร ซึ่งทาทาก็ได้พัฒนารถกระบะ ซีนอน ด้วยเครื่องยนต์ขนาด 2200 ซีซี คอมมอนเรล VVT DICOR ที่ให้สมรรถนะสูง แม้จะมีความจุกระบอกสูบน้อยกว่ารถรุ่นอื่นๆในท้องตลาด ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. ใช้รอบเครื่องเพียงแค่ 2,000 รอบ/นาทีเท่านั้น จึงประหยัดน้ำมันมาก ซึ่งตรงกับแนวทางของทาทาที่มองว่า รถเพื่อการพาณิชย์จะต้องมีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดทั้งด้านเชื้อเพลิง ความทนทานและการบำรุงรักษา โดยขณะนี้ บริษัทได้ส่งมอบรถให้กับตัวแทนจำหน่ายและลูกค้าไปแล้ว และคาดว่าจะมียอดขายรวมจนถึงสิ้นปีที่ 5,000 คัน"



นายอภิเชต กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ทาทายังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบรถกระบะซีนอน เครื่องยนต์ CNG ซึ่งเคยนำมาจัดแสดงในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 29 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยรถคันนี้จะเป็นรถกระบะคันแรกในประเทศไทย ที่ใช้ก๊าซ CNG

เป็นเชื้อเพลิง 100% ไม่ใช้ระบบผสมก๊าซ CNG กับน้ำมันดีเซล เหมือนที่มีใช้ในปัจจุบัน โดยซีนอน CNG ไม่ต้องใช้น้ำมันดีเซลในระบบเลย เพราะทาทาพัฒนาเครื่องยนต์รุ่นใหม่ สำหรับก๊าซ CNG โดยเฉพาะ เครื่องยนต์ขนาด 2100 ซีซี ใช้อะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบสำคัญ ทำให้มีน้ำหนักเบา แต่แข็งแกร่ง ให้กำลังอัดที่สูงขึ้น อีกทั้งก๊าซ CNG มีค่าออกเทนสูงกว่าน้ำมันดีเซล จึงให้ค่าประสิทธิภาพความร้อนสูง เผาไหม้หมดจด ปล่อยมลพิษไอเสียน้อย



นอกจากนี้ทาทายังออกแบบถังเชื้อเพลิงใหม่ โดยตัดถังน้ำมันดีเซลออกไปเนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ และติดตั้งถังก๊าซ CNG จำนวน 2 ถัง ขนาด 70 ลิตรน้ำและขนาด 40 ลิตรน้ำ ระหว่างแชสซีส์กับพื้นกระบะ จึงไม่เกะกะพื้นที่เก็บสัมภาระและมีความปลอดภัยสูง ด้วยวิธีการนี้ ทำให้ซีนอน CNG มีน้ำหนักใกล้เคียงกับรถกระบะซีนอน เครื่องยนต์ดีเซล เพราะไม่ต้องแบกรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีน้ำหนักมาก ไม่ต้องแบกถังน้ำมันที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งแตกต่างการนำรถกระบะทั่วไปมาดัดแปลงให้ใช้เชื้อเพลิง ระบบผสมก๊าซ CNGกับน้ำมันดีเซล ที่มีน้ำหนักมากกว่าเดิมประมาณ 70-80 กก.



"ปัจจุบันตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ 23 แห่ง พร้อมรับจองกระบะซีนอน CNG แล้ว ซึ่งแจ้งกับลูกค้าว่า จะเปิดตัวในช่วงปลายปี 2551 ซึ่งหากลูกค้าไม่สามารถรอรับรถนานขนาดนั้น เราก็จะเสนอรถกระบะ ทาทา ซีนอน ดีเซล 2200 ซีซี ซึ่งให้สมรรถนะสูง พร้อมๆกับการประหยัดน้ำมัน ให้พิจารณาแทน" นายอภิเชต กล่าวสรุป



นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธาน บริษัท สื่อสากล จำกัด และประธานจัดงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 25" หรือไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์เอ็กซ์โป 2008 เปิดเผยว่า น้ำมันแพงทำให้พฤติกรรมของลูกค้าชาวไทยเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่นิยมซื้อรถกระบะกำลังแรง เครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ 3000-3200 ซีซี ก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้กระบะเครื่องยนต์ 2500 ซีซี หรือเครื่องยนต์ขนาด 2200 ซีซี ด้วยเหตุผลต้องการเครื่องยนต์ที่ประหยัดน้ำมันกว่าเดิม



"ในงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 25 ช่วงปลายปีนี้ จะใช้งบจัดงานกว่า 120 ล้านบาท และน่าจะมียอดจองรถไม่น้อยกว่า 17,000 คัน โดยมีผู้ผลิตรถยนต์ร่วมงานไม่น้อยกว่า 35 ราย ในจำนวนนี้จะเป็นค่ายรถยนต์รายใหม่ที่สนใจบุกตลาดรถยนต์ไทย 3 ราย คาดว่ารถยนต์ที่จะได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานมากที่สุดคือ รถยนต์ราคาประหยัด และรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงทางเลือกใหม่ อย่างรถยนต์CNG รถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ อี 85"

เก๋ง"อัลติส-ทีด้า"เอ็นจีวีพุ่งกระฉูด เอเย่นต์พลิกเกมแก้ตลาดฝืดจับรถใหม่ติดก๊าซสำเร็จรูป

เก๋ง"อัลติส-ทีด้า"เอ็นจีวีพุ่งกระฉูด เอเย่นต์พลิกเกมแก้ตลาดฝืดจับรถใหม่ติดก๊าซสำเร็จรูป

พิษน้ำมันแพงฟาดหางฉุดตลาดรถจืดสนิท ตัวแทนขายรถพลิกตำราแก้เกม เสนอเงื่อนไขพิเศษติดตั้ง "เอ็นจีวี" หรือ "แอลพีจี" สำเร็จรูปตั้งขายทั้งในและนอกโชว์รูม พร้อมสร้างความมั่นใจลูกค้าระบุยังให้การคุ้มครองแต่ย้ายจากบริษัทแม่มาเป็น ดีลเลอร์แทน โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน เผยเปิดทางให้ตัวแทนจำหน�ายทำได้เต็มที่แต่ต้องดูแลลูกค้าใกล้ชิด พี่เบิ้ม "โตโยต้า" ระบุชัดลุยขึ้นไลน์ซีเอ็นจี พร้อมส่งลงตลาดไตรมาสที่ 3 ประเดิม "ลิโม" ก่อนขยายไปโปรดักต์ตัวอื่น "ส.ศิริแสง" ฟุ้ง 5 เดือนติดตั้ง "เอ็นจีวี" ไปแล้วกว่า 1,000 คัน

แหล่ง ข่าวตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้า เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในช่วงที่วิกฤตน้ำมันแพงเช่นนี้ การขายรถต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาช่วย เยอะมาก โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมามีลูกค้า ที่ต้องการซื้อรถยนต์ติดก๊าซเอ็นจีวีเข้ามาติดต่อเป็นจำนวนมาก ทางตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าหลายรายจึงตอบรับความต้องการของลูกค้าด้วยการ นำรถยนต์โตโยต้าอัลติสใหม่ไปติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี จากบริษัทผู้ติดตั้งภายนอก แล้วนำมาจำหน่ายให้กับลูกค้าที่มีความต้องการโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความต้องการของบริษัทเอกชน หน่วยงานต่างๆ รองลงมาเป็นกลุ่มลูกค้าประชาชนทั่วไป

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับการนำรถยนต์ใหม่ที่ไปติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีนั้น ถือว่าในส่วนของเครื่องยนต์และระบบที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง จะสิ้นสุดการรับประกันจากทางบริษัทแม่ (โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย) ซึ่งมีการรับประกันสำหรับรถยนต์ใหม่ในระยะเวลา 3 ปี หรือ 1 แสนกิโลเมตร ดังนั้นถ้ามีการนำไปดัดแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม การรับประกันนี้จะสิ้นสุดทันที แต่ในกรณีนี้ทางบริษัทผู้ติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีจะเป็นผู้เข้ามาให้การ รับประกันแทน ซึ่งทางตัวแทนจำหน่ายต้องอธิบายเรื่องนี้ให้ลูกค้าที่ซื้อรถเข้าใจ

" ช่วง 2-3 เดือนมานี้มีลูกค้าถามเรื่องรถอัลติสใหม่ที่ติดตั้งเอ็นจีวีสำเร็จรูปเยอะ มาก เราเองก็เลยต้องจัดเตรียมรถประเภทนี้ไว้รองรับ ซึ่งถ้ามีลูกค้าสนใจก็พร้อมจะนำเสนอให้ทันที แต่ทุกอย่างต้องอธิบายกันชัดเจนโดยเฉพาะการรับประกัน ถ้าลูกค้ารับได้เราก็จัดหาให้ เพราะเงื่อนไขจาก โตโยต้าระบุชัดเจนว่า การรับประกันจะสิ้นสุดเฉพาะส่วนที่นำไปดัดแปลงเท่านั้น แต่ถ้าเป็นส่วนอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเครื่องยนต์หรือระบบเชื้อเพลิง ถือว่ายังได้การรับประกันเช่นเดิม"

ผู้สื่อข่าวสำรวจดีลเลอร์ขายรถ ยนต์หลายยี่ห้อทั้งฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิในเขต กทม. ปริมณฑล พบว่ามีมากกว่า 50 แห่งที่เลือกทำตลาดแนวนี้ นอกจากนี้ยังขยาย ช่องทางการขาย จากเดิมที่วางขายภายในโชว์รูมอย่างเดียว ตอนนี้เอารถตัวอย่างไปจัดโชว์ตามศูนย์การค้าต่างๆ โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าที่มีกลุ่มลูกค้าคนชั้นกลางและดิสเคานต์สโตร์ทั่วไป

แหล่ง ข่าวตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้ากล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปีนี้ทางบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ก็มีแผนที่จะเปิดตัวรถอัลติสใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวีออกสู่ตลาด โดยจะเป็นรุ่นลิโมซึ่งเจาะกลุ่มแท็กซี่และลูกค้า ฟลีตก่อน ซึ่งรถยนต์รุ่นนี้เป็นการผลิตจากโรงงานของโตโยต้าโดยตรง ได้รับการรับประกันทุกอย่างจากทางบริษัทแม่

นายสาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานอาวุโส ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าวยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันมีตัวแทนจำหน่ายของฟอร์ดประมาณ 3-4 ราย ที่เปิดให้บริการรับติดตั้งก๊าซ ทั้งเอ็นจีวี และแอลพีจี ด้วยเช่นกัน แต่รูปแบบของการดำเนินธุรกิจจะแยกออกไปในลักษณะของการจัดตั้งเป็นบริษัทขึ้น มาอีก 1 แห่ง เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายและติดตั้งให้กับรถยนต์เก่าโดยตรง และใช้พื้นที่บริเวณเดียวกับศูนย์บริการ

แต่สำหรับฟอร์ดนั้น ขอยืนยันว่าไม่มีนโยบายในเรื่องดังกล่าวอย่างแน่นอน เนื่องจากบริษัทมองว่า การรับติดตั้งก๊าซนอกไลน์ประกอบไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม น่าจะมีมาตรฐานไม่เท่ากัน

ขณะที่ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ดรายหนึ่ง กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับติดตั้งก๊าซเอ็นจีวี และแอลพีจี ให้กับลูกค้าจริง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มรถยนต์เก่า แต่ในส่วนรถใหม่นั้นหากลูกค้าต้องการติดตั้งบริษัทก็พร้อมให้บริการ แต่ในส่วนของวอร์แรนตีและการรับประกันเครื่องยนต์จะหมดไป ส่วนอัตราค่าติดตั้งนั้นสำหรับเอ็นจีวีจะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 63,000 บาท แอลพีจีราคา 42,000 บาท บริษัทจะให้การรับประกันเป็นระยะเวลา 2 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร

นายวิชัย อมตะกุลชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามกลการ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันรายใหญ่ กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์และแนวโน้มด้านพลังงานที่มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความต้องการใช้สำหรับพลังงานทดแทนที่มีมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทตัดสินใจแตกไลน์ธุรกิจหันมารับติดตั้งชุดอุปกรณ์ก๊าซเอ็นจีวี และแอลพีจีให้กับรถยนต์นิสสันอาทิ นิสสันทีด้า

ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างขั้นตอนการหารือร่วมกับบริษัทแม่ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด โดยขณะนี้มีศูนย์บริการ 4 สาขา ที่เปิดให้บริการไปแล้ว 4 แห่ง คือ วิภาวดีฯ ลาดพร้าว ปทุมวัน และบางจาก ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่เป็นรถเก่า ทำให้บริษัทคาดว่าจะขยายเพิ่มธุรกิจดังกล่าวให้ครอบคลุมกับโชว์รูมและศูนย์ บริการทั้ง 11 แห่งในอนาคต

นายวิชัยกล่าวว่า ความต้องการใช้รถยนต์ที่ประหยัดพลังงานกำลังเป็นที่ต้องการของลูกค้าจำนวน มาก บวกกับบริษัทต้องการสนองตอบนโยบายการประหยัดพลังงานของภาครัฐ สำหรับรถยนต์ที่เข้ารับการติดตั้งก๊าซจากบริษัทจะได้รับประกันจาก ปตท. แทนการรับประกันและวอร์แรนตีจากบริษัทแม่

"เราค่อนข้างจะให้ความ สำคัญในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยจากการติดตั้ง เราเชื่อว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบขัดแย้งกับบริษัทแม่ อย่างแน่นอน"

แหล่งข่าวฝ่ายบริหาร บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ฮอนด้ากำลังอยู่ระหว่างพัฒนารถยนต์นั่งที่สามารถใช้เครื่องยนต์ซีเอ็นจีขึ้น ในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะฮอนด้าเพิ่งมีการเปิดตัวซีวิค ซีเอ็นจี ในประเทศจีนเมื่อไม่นานมานี้ และคาดว่าอนาคตหากฮอนด้าจะหันมาพัฒนารถยนต์ซีเอ็นจีสำหรับประเทศไทยคงจะไม่ ใช่เรื่องยาก

ขณะที่นางสาวปาณิศรา รุจสวรรยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ส.ศิริแสง จำกัด ผู้รับติดตั้งชุดอุปกรณ์เอ็นจีวีและ แอลพีจีรายใหญ่ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้รถยนต์นิยมหันมาติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมานั้น บริษัทได้ติดตั้งซีเอ็นจีให้กับรถยนต์ไปแล้วกว่า 1,000 คัน

โดย มากกว่า 500 คัน เป็นการติดตั้งในรูปแบบตลาดฟลีตให้กับองค์กรรัฐและเอกชน รวมถึงตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน และเชฟโรเลต โดยเฉพาะการเป็น ผู้ดำเนินการติดตั้งชุดอุปกรณ์ซีเอ็นจีให้กับ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่างเชฟโรเลต เพื่อนำออกมาจำหน่ายในรูปแบบของการติดตั้งถังก๊าซแบบ "เลโทรฟิต" (letrofit) หรือการติดตั้งโดยได้รับการรับรองและการวอร์แรนตีจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์

นอก จากนี้ บริษัทได้ดำเนินการร่วมในรูปแบบที่เรียกว่า "ดีลเลอร์ชิป" หรือการอบรมให้ความรู้ด้านการติดตั้งชุดอุปกรณ์ ซีเอ็นจีพื้นฐาน ให้กับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ที่เป็นพันธมิตร เพื่อนำไปพัฒนาและติดตั้งให้กับรถรถยนต์ยี่ห้อของตัวเอง

"เราต้องการ ให้ดีลเลอร์แต่ละรายสามารถติดตั้งงานของยี่ห้อตัวเองได้อย่างเหมาะสมและถูก วิธี แต่ถ้างานของดีลเลอร์ชิปล้นมือ เราก็พร้อมที่จะเข้าไปรับติดตั้ง ให้ด้วย"

สำหรับการติดตั้งชุดอุปกรณ์ซีเอ็นจีของบริษัทนั้นมีราคา เริ่มต้นตั้งแต่ 40,000 บาท ในระบบลูกสูบ และราคา 60,000 บาท ในระบบหัวฉีด ส่วนการติดตั้งแอลพีจีนั้น มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 10,000-20,000 บาท ในระบบลูกสูบ และราคา 30,000-40,000 บาท ในระบบหัวฉีด โดยบริษัทจะให้การรับประกันเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร

 

Wednesday, June 4, 2008

ปีหน้าNGVขยับขึ้นเป็น 12บาท/กก

ปตท.หวั่นปัญหาด้านราคาNGVจะซ้ำรอยก๊าซหุงต้ม กลายเป็นระเบิดลูกใหม่ หากไม่สามารถปรับขึ้นราคาNGVได้ตามแผน ยันเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รู้ว่าปีหน้าNGVขยับขึ้นเป็น 12บาท/กก. ระบุปตท.อุ้มมากไปกว่านี้ไม่ได้ หลังคาดปีนี้แบกรับภาระNGV 5 พันล้าน และการขาดทุนค้าปลีกน้ำมัน 5-7 พันล้านบาท ยอมรับปัญหาก๊าซหุงต้มแก้ไขยาก ชี้รถบ้านแห่มาติดตั้งอุปกรณ์ใช้LPGเพิ่มมากขึ้น หวั่นไทยต้องนำเข้าLPGไปตลอดชาติ ประเมินปีหน้าคาดนำเข้าLPGอาจทะลุ 1 ล้านตัน หากรถแท็กซี่ยังใช้LPGและมีการลักลอบขนไปขายในประเทศเพื่อนบ้านอยู่
       
       
       นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาวิกฤตพลังงาน : นโยบาย ยุทธศาสตร์และทางรอดSME"วานนี้(3 มิ.ย.)ว่า จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการภาคการขนส่งหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์(NGV)เพิ่ม ขึ้น ซึ่งราคาNGVที่ตั้งไว้ 8.50 บาท/กก. ซึ่งถูกกว่าราคาเชื้อเพลิงชนิดอื่น จะกลายเป็นระเบิดเวลาในอนาคต หากราคาNGVไม่สามารถปรับขึ้นได้ตามนโยบายที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งจะซ้ำรอยก๊าซหุงต้ม (LPG) ที่อุดหนุนอยู่ สุดท้ายปตท.ก็คงไม่สามารถรับภาระตรงนี้ได้
       
       ดังนั้น จึงต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภครู้ว่าราคาNGV จะปรับขึ้นในปีหน้าเป็นกก.ละ 12 บาท และปีถัดไปเพิ่มเป็น 13 บาท/กก. หลังจากนั้นปล่อยไปตามกลไกตลาด โดยจะไม่ยืนราคาไว้อยู่ที่ 8.50บาท/กก. มิฉะนั้น ปตท.คงไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนดังกล่าวได้ โดยปีที่แล้วปตท.ขาดทุนจากการขายNGVถึง 2 พันล้านบาท และปีนี้คาดว่าจะแบกรับภาระเพิ่มขึ้นเป็น 5 พันล้านบาท ส่วนธุรกิจค้าปลีกน้ำมันแบกภาระขาดทุนในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5-7 พันล้านบาท เนื่องจากต้นปีนี้ ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลติดลบ 32 สตางค์/ลิตร
       
       " ในระยะยาวการทำธุรกิจNGV ทางปตท.ก็หวังได้ว่ามีผลตอบแทนพอคุ้มทุน แต่ระยะสั้นปตท.จำเป็นต้องผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนราคาน้ำมันให้กับภาคขนส่ง แท็กซี่ เพื่อให้เขาเกิดความหวังมาหันใช้NGVมากขึ้น โดยการปรับขึ้นราคาNGVนั้นต้องเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนNGVอยู่ที่ 10บาทกว่า/กก.แล้ว และเชื่อว่าปตท.จะแบกรับภาระNGVลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น " นายประเสริฐกล่าว
       
       สำหรับการแก้ไขปัญหาก๊าซหุงต้มนั้น ยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะมีการอุดหนุนด้านราคาเป็นเวลานาน ซึ่งปัจจุบันโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซฯขายก๊าซหุงต้มในประเทศที่ราคา 300 เหรียญสหรัฐ/ตัน ต่ำกว่าราคาตะวันออกกลางที่เป็นเจ้าของแหล่งก๊าซและน้ำมันที่ขายอยู่ตันละ 900 เหรียญสหรัฐ ซึ่งก๊าซหุงต้มทั้งระบบมีการใช้อยู่ 3 ล้านตัน/ปี เท่ากับว่าโรงกลั่นและโรงแยกฯขายในราคาต่ำกว่าตลาดโลกถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 หมื่นกว่าล้านบาท ทำให้ปตท.สูญเสียโอกาสคิดเป็นสัดส่วน 60-70%ของวงเงินดังกล่าว
       
       ขณะที่การนำเข้าก๊าซหุงต้มจำเป็นต้องมีผู้รับภาระ 600 เหรียญสหรัฐ/ตัน โดยทางรัฐจะเป็นผู้รับภาระดังกล่าว โดยให้ปตท.เป็นผู้นำเข้าก๊าซหุงต้มมาก่อนแล้วได้รับเงินคืนจากการปรับขึ้น ราคาก๊าซหุงต้มสำหรับยานยนต์ที่จะสูงกว่าราคาก๊าซหุงต้มในครัวเรือน
       
       นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้รถบ้านหันมาเปลี่ยนเครื่องยนต์เพื่อใช้ก๊าซหุงต้มที่มีราคาถูกกว่าเป็น จำนวนมาก ทำให้เป็นห่วงว่าไทยยังต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มไปตลอด แม้ว่ารัฐจะมีการปรับราคาก๊าซหุงต้มสำหรับรถยนต์ขึ้นก็ตาม เพราะรถบ้านได้มีการลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ไปแล้ว ก็คงไม่มีการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซNGV แม้ว่าราคาก๊าซหุงต้มจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะยังคุ้มเมื่อเทียบกับราคาน้ำมัน
       
       โดยเชื่อว่าปีหน้าไทยจะต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มไม่น้อยกว่า 5 แสนตันและอาจสูงถึง 1 ล้านตัน ขึ้นอยู่กับว่ารถแท็กซี่จะเปลี่ยนการใช้ก๊าซหุงต้มมาเป็นNGVแค่ไหน และการควบคุมไม่ให้มีการรั่วไหลของก๊าซหุงต้มไปยังประเทศเพื่อนบ้านทำได้มาก น้อยเพียงใด โดย ปีนี้ไทยมีการนำเข้าก๊าซหุงต้ม 2 แสนตัน โดยปตท.จะเป็นผู้นำเข้าก๊าซหุงต้มจากต่างประเทศโดยรัฐเป็นผู้รับภาระต้นทุน ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น เพราะรัฐคุมราคาขายก๊าซหุงต้มอยู่ที่ 300 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ราคานำเข้าสูงถึง 900 เหรียญสหรัฐ/ตัน รัฐรับภาระถึงตันละ 600 เหรียญสหรัฐ
       
       "เราอาจจะให้รถแท็กซี่ให้เปลี่ยนจากใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเอ็นจีวีได้ แต่รถบ้านที่วันนี้แห่มาเปลี่ยนเป็นมาใช้ก๊าซหุงต้มจำนวนมาก คงเป็นไปได้ยาก โดยแม้ว่ารัฐจะปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มสำหรับยานยนต์จาก 11 บาท/ลิตรเป็น 20 บาท/ลิตร ซึ่งเมื่อเทียบกับน้ำมัน 40 บาท/ลิตร ก็ยังคุ้ม ซึ่งจะเป็นปัญหาที่แก้ยาก เพราะโครงสร้างราคาทำให้เกิดปัญหา ดังนั้นคงต้องปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มสำหรับยานยนต์ให้เท่ากับราคาตลาดโลก จะทำให้แรงจูงใจน้อยลง แต่ตอนนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าราคาก๊าซหุงต้มจะปรับไปได้สูงถึงขนาด นั้น"
       
       นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ปตท.มีความพร้อมในการจำหน่ายน้ำมันอี 85 เนื่องจากจำนวนรถที่เติมอี 85 ในช่วงแรกมีจำนวนไม่มาก ทำให้ค่อยๆทยอยเปิดปั๊ม โดยในช่วง 3-5 เดือน ปตท.และบางจากจะมีปั๊มที่จำหน่ายอี 85 ประมาณ 50-60 แห่ง หลังจากนั้นค่อยเร่งผลิตเอทานอลและขยายปั๊มเพิ่มขึ้นได้ตามจำนวนรถยนต์ที่ ใช้อี 85 ได้
       
       **นักวิชาการแนะรัฐปรับตัว
       
       ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมของไทยควรต้องมีการปรับตัวเช่นเดียวกับประชาชน และเห็นภาครัฐควรปล่อยให้ราคาพลังงานเป็นไปตามกลไกตลาด เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงได้ โดยประชาชนและภาคอุตสาหกรรมไทยควรต้องมีการปรับตัวเช่นกัน
       
       ปัจจุบันไทยนำเข้าน้ำมันคิดเป็น 8%ของจีดีพี สูงสุดในเอเชีย ขณะที่มูลค่าการส่งออกข้าวของไทยเพียงพอชำระค่าน้ำมันได้เพียง 1 เดือนครึ่ง หรือถ้ารวมการส่งออกพืชผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเพียงพอชำระค่าน้ำมันได้ แค่ 9 เดือนเท่านั้น ทำให้ไทยต้องขาดดุลการค้าหนัก หากปล่อยให้ดุลการค้าขาดดุลไปนาน จะส่งผลให้โครงสร้างเศรษฐกิจทรุดได้เพราะสำรองเงินตราที่มีอยู่คงไม่เพียงพอ
       
       ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาด้านพลังงาน คือ 1. รัฐควรปล่อยให้ราคาพลังงานเป็นไปตามกลไกตลาด 2.โครงสร้างเศรษฐกิจพึ่งพิงน้ำมันให้น้อยที่สุด และ 3.สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการผลักดันการใช้อี 85 โดยประเมิณว่าราคาน้ำมันอี 85 น่าจะอยู่ที่ 22-23 บาท/ลิตร ถ้าประชาชนบริโภคน้ำมันอี 85 แค่ 60%จะประหยัดการนำเข้าน้ำมันได้ถึง 1 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันภาคการเกษตรก็จะมีเงินเพิ่มขึ้น 1แสนล้านบาทจากการปลูกพืชทดแทน และเชื่อว่าพื้นที่เพาะปลูก 65 ล้านไร่เพียงพอ แต่รัฐต้องมีการจัดสรรพื้นที่ให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดการแย่งชิงพื้นที่
       
       จากการที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ ผ่านมา ส่งผลให้เงินเฟ้อพ.ค.ปรับตัวเพิ่มสูงสุดในรอบ 10ปี มาอยู่ที่ 7.6% แต่เชื่อว่าเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบชัดเจนในช่วงส.ค.-ก.ย.นี้ และเมื่อมีปัญหาน้ำมันและเงินเฟ้อจะส่งผลต่อบริษัทจดทะเบียนทำให้สามารถทำ กำไรลดลง และการจัดเก็บภาษีของรัฐลดลง ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ดังนั้นบริษัทจดทะเบียนต้องปรับตัวมีการคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ควบคุมต้นทุนการผลิตสินค้าและมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพการผลิต ที่ดีขึ้น
       
       สำหรับธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SME) การทำธุรกิจต้องมีการระมัดระวังค่าใช้จ่ายให้ดี รวมถึงการหาตลาดใหม่ เพราะกำลังซื้อลดลง ต้นทุนสินค้าเพิ่มและดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้กำไรน้อยลง ส่งผลให้การเสียภาษีลดลงไปด้วย
       
       **ปตท.ยันยังไม่ลดราคาดีเซล
       
       นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. ยังกล่าวอีกว่า ปตท.จะยังไม่มีการปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในประเทศช่วงนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตะวันออกกลางจะปรับตัวลดลงมาบ้างแล้ว แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับสูงและยังมีความผันผวน ประกอบกับช่วงที่น้ำมันราคาสูงปตท.ตรึงราคาและขายต่ำกว่าหน้าโรงกลั่น 2-3 บาทอยู่แล้วจึงไม่สามามารถลดลงได้เร็วแม้ค่าการตลาดจะกลับมาเป็นบวกเล็กน้อย แล้วก็ตาม
       
       อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันดิบสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์มีแนวโน้มปรับ ลดลงเหลือ 150 เหรียญต่อบาร์เรล อาจมีการปรับลดลงได้ จากปัจจุบันที่ยังอยู่ในระดับ 156 เหรียญต่อบาร์เรล จึงต้องจับตาดูต่อไปว่าราคาน้ำมันในภูมิภาคจะลดลงกว่านี้หรือไม่ เนื่องจากขณะนี้เริ่มมีสัญญาณการใช้น้ำมันชะลอตัวลง
       
       "สถานการณ์เงินเฟ้อในภูมิภาคเอเชียที่สูงขึ้นมากเป็นแรงกดดันให้ เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวและประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ทำให้การใช้น้ำมันเริ่มชะลอตัวลง จึงต้องรอดูว่าหลังการแข่งขันโอลิมปิคจีน รวมถึงอินเดียจะมีการใช้ลดลงอีกหรือไม่ หากแนวโน้มการใช้ลดลงราคาน้ำมันก็น่าจะปรับลดลงได้ ซึ่งปตท.จะรีบปรับราคาลงทันทีเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน"นาย ประเสริฐกล่าว
       
       ส่วนการที่โรงกลั่นของปตท.จัดสรรน้ำมันดีเซลช่วยเหลือประชาชนในภาวะ วิกฤติน้ำมันแพงตามนโยบายของกระทรวงพลังงานในช่วง 6 เดือนนี้รวม 700 กว่าล้านลิตร มูลค่า 200 ล้านบาทนั้น ถือเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น ทางนักลงทุนและผู้ถือหุ้นของปตท.น่าจะข้าใจและไม่ส่งผลกระทบกับการดำเนินงาน เพราะปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องสนองนโนยาบรัฐบาล
       
       อย่างไรก็ตามการที่มีผู้เรียกร้องให้ปตท.ต้องปฎิบัติตามพ.ร.บ.แข่ง ขันทางการค้าเหมือนเอกชนรายอื่นๆนั้นคงต้องคำนึงด้วยว่าปตท.จะไม่สามารถขาย น้ำมันดีเซลได้ต่ำกว่าทุนเหมือนในปัจจุบัน เพราะหากดำเนินการดังกล่าวทางผู้ประกอบการรายอื่นสามารถฟ้อร้องผู้บริหารและ ผู้มอบนโยบายได้เช่นเดียวกันและจะทำให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้นทันทีลิตรละ 3 บาท
       
       **ปิยสวัสดิ์แนะลดบริโภคน้ำมัน
       
       นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์น์ ประธานที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนาคารกสิกรไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สถานการณ์ของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบันน่าจะเกิดขึ้นจากความ ต้องการบริโภคที่สูงกว่าปริมาณการผลิต ไม่ใช่การเก็งกำไรที่หลายฝ่ายมีความเห็นออกมาก่อนหน้านี้
       
       ทั้งนี้ หากเป็นการเก็งกำไรแล้วปัจจัยที่จะนำมาวิเคราะห์ก่อนการลงทุนจะเป็นเรื่อง ความต้องการบริโภค และกำลังการผลิตที่จะเป็นตัวกำหนดราคา และหากไม่มีการบริโภคจริงการเก็งกำไรจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากจะทำให้ราคาไม่เป็นตามที่คาดไว้
       
       สำหรับความต้องการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่เฉพาะประเทศเกิดใหม่อย่างจีน และอินเดียเท่านั้น แต่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเองก็มีการบริโภคสูงเช่นกัน แต่ในส่วนกำลังการผลิตกลับไม่สามารถขยายได้ตามความต้องการ ซึ่งหากกลุ่มประเทศโอเปกมีการเพิ่มการผลิตจริงน่าจะทำได้เพียงแค่ 5 แสนบารร์เรรลต่อวัน ในขณะที่ความต้องการขณะนี้มีสูงถึง 1 ล้านบาร์เรลล์ต่อวัน
       
       นายปิยสวัสดิ์ กล่าวอีกว่า ปัญหาการบริโภคน้ำมันของประเทศไทยในสถานการณ์ปัจจุบันรัฐบาลควรมีนโยบายที่ มีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากกว่าด้านคุณภาพอย่างเดียว ซึ่งบางนโยบายที่รัฐบาลนำออกมาใช้ก่อนหน้านี้มิได้เอื้อต่อการลดการบริโภคใน ระยะยาวจึงควรที่จะมีการทบทวนใหม่ และนำแนวทางที่มีสามารถลดการบริโภคน้ำมันอย่างจริงจังได้มาใช้แทน โดยเชื่อว่าจะสามารถลดผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นได้
       
       "นโยบายบางตัวต้องทบทวนอย่างการให้กู้เงินซื้อเครื่องไฟฟ้าดอกเบี้ย ต่ำ มันไม่ได้ช่วยในเรื่องการลดการบริโภค เป็นเพียงแค่ลดตัวเลขการใช้ไฟฟ้าในระยะสั้นเท่านั้น ซึงการแก้ปัญหาด้านราคาน้ำมันของประเทศไทยในระยะยาวแล้วควรที่จะหาทางลดการ บริโภคน้ำมันของประชาชนลงมากกว่า"นายปิยสวัสดิ์กล่าว

Tuesday, June 3, 2008

รถติดถังเอ็นจีวีนั้นไม่ได้เสี่ยงเพิ่มกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน จึงไม่ได้มีผลให้เกณฑ์การรับประกันภัยแตกต่างจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน

รถติดถังเอ็นจีวี ประกันภัยไม่ห่วง 'เสี่ยง' แนะลูกค้าเพิ่มทุนประกัน
    ใน ภาวะที่ราคาน้ำมันทะยานอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ผู้ใช้รถยนต์หลายคนเริ่มถอดใจ หันมาติดถังเอ็นจีวีแทน หวังช่วยผ่อนภาระเงินในกระเป๋า โดยเฉพาะความสะดวกที่น่าจะเพิ่มขึ้น เมื่อภาครัฐออกมารับปากเพิ่มสถานีบริการเป็น 355 สถานีภายในปีนี้

        อย่างไรก็ตาม ยังมีความวิตกของเจ้าของรถยนต์ ห่วงภาระเบี้ยประกันภัยที่จะตามมาหลังการติดถังเอ็นจีวี ซึ่งต้องเปลี่ยนความคิดซะใหม่ๆ เนื่องจากผู้บริหารบริษัทประกันภัยยืนยันมาแล้วว่า รถติดถังเอ็นจีวีนั้นไม่ได้เสี่ยงเพิ่มกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน จึงไม่ได้มีผลให้เกณฑ์การรับประกันภัยแตกต่างจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ทั้งกรณีเบี้ยประกัน และความคุ้มครองตามทุนประกัน

        ค่ายประกันภัยให้ข้อแนะนำกับเจ้าของรถยนต์ที่ติดถังเอ็นจีวีว่า

1. ควรแจ้งให้บริษัทประกันภัยรับทราบ โดยนำหลักฐานการติดตั้งถังก๊าซมายืนยัน และ

2. ควรพิจารณาเพิ่มทุนประกันเพื่อที่บริษัทประกันภัย จะได้รับผิดชอบในส่วนที่เป็นการติดตั้งเพิ่มเติมหากเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งโดยปกติทุนประกันมาตรฐานจะอยู่ที่ 80 % ของมูลค่ารถ ยกตัวอย่าง มูลค่ารถ 400,000 บาท ทุนประกันจะอยู่ที่ประมาณ 320,000 บาท แต่หลังติดถังเอ็นจีวีที่มีต้นทุนค่าติดตั้งประมาณ 60,000 บาทต่อคัน ส่งผลให้มูลค่ารถเพิ่มเป็น 460,000 บาท บริษัทประกันภัยจึงแนะนำให้ผู้ซื้อประกันภัยเพิ่มทุนประกัน และอาจทำให้เบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นบ้างตามทุนประกันที่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การตัดสินใจเพิ่มทุนประกันหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อประกันภัยเอง

        หากประเมินภาระเบี้ยประกันภัยเบื้องต้น ในส่วนที่ลูกค้าต้องควักกระเป๋าจ่ายเพิ่มนั้น อาจคิดได้ง่าย ๆ คือ ตกที่ประมาณ 2.5-4.0 % ของทุนประกันที่เพิ่มขึ้น ขึ้นกับประเภทของรถยนต์ เช่น ในกลุ่มรถขนาดเล็กต่ำกว่า 1600 ซีซี อย่างฮอนด้า แจ๊ซ หรือ โตโยต้า วีออส ซึ่งมูลค่ารถ 700,000-800,000 บาท เมื่อติดถัง เอ็นจีวี มูลค่า 50,000-60,000 บาท ทำให้มูลค่ารถเพิ่มเป็น 750,000-860,000 บาท ในกรณีที่มีทุนประกันเดิมอยู่ที่ 500,000 บาท เบี้ยประกันภัย 15,000-16,000 บาทต่อปี หลังติดถังเอ็นจีวีอาจเพิ่มทุนประกันเป็น 550,000 บาท เบี้ยประกันปรับเพิ่มขึ้นเป็น 17,000-18,000 บาทต่อปี เป็นต้น

        ขณะที่ในปัจจุบันมีค่ายประกันภัยหลายแห่งที่รับชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ในส่วนที่ลูกค้านำรถยนต์ไปติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม โดยรวมอยู่ในทุนประกันอยู่แล้ว เช่น แอกซ่าประกันภัย หรือ อาคเนย์ประกันภัย ที่รับชดเชยความเสียหายในส่วนที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ยกตัวอย่าง ลูกค้าติดตั้งเอ็นจีวีแต่ไม่ได้แจ้งให้บริษัททราบ ต่อมาเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยรับชดเชยในส่วนที่ติดตั้งเพิ่มเติมดังกล่าวให้ด้วย แต่ไม่เกิน 50,000 บาท


        หลังจากที่ภาครัฐบาลมีมาตรการประหยัดพลังงาน ด้วยการส่งเสริมรถยนต์หันมาใช้เอ็นจีวี 'ฐานเศรษฐกิจ' สำรวจความเห็นจากผู้บริหารระดับสูงค่ายประกันภัยรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่แนะนำให้ลูกค้าที่ติดถังเอ็นจีวีเพิ่มทุนประกัน

        'กี่เดช อนันต์ศิริประภา' กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด

        กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีฐานลูกค้าที่รับประกันรถติดถังก๊าซเอ็นจีวีประมาณ 5,000 คัน คิดเป็น 10% ของฐานลูกค้ามอเตอร์ 500,000 คัน โดยลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ยี่ห้อ โตโยต้าและฮอนด้า ปี 1, 2 และ 3 หรือเฉลี่ยไม่เกิน 7 ปี ซึ่งหากลูกค้าต้องการเพิ่มทุนประกัน เพื่อซื้อความคุ้มครองในส่วนเกินนี้ บริษัทจะคิดเบี้ยประกันในอัตราปกติ 2.5-3% ของจำนวนทุนประกันที่เพิ่มขึ้น หรือต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มประมาณ 1,000-2,000 บาท

        เช่น รถยนต์เล็ก ราคา 700,000 บาท เดิมทุนประกัน 500,000 บาท เบี้ยประกัน 15,000-16,000 บาทต่อปี เมื่อติดถัง เอ็นจีวี มูลค่า 50,000 บาท ต้องเพิ่มทุนประกันเป็น 550,000 บาท คิดเป็นเบี้ยประกันใหม่ 16,000-17,000 บาท


        ส่วน 'กฤตวิทย์ ศรีพสุธา' กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างกำหนดเบี้ยประกันและทุนประกันที่เหมาะสม เพื่อรับนโยบายสนับสนุนของภาครัฐในการประหยัดพลังงาน โดยจะช่วยให้ผู้ซื้อประกันภัยมีภาระลดลงเฉลี่ยประมาณ 2,500 บาท


        ขณะที่ 'ภูเบศร เทพทรงพัฒนา' หัวหน้าสายงานประกันภัยรถยนต์ บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างส่งแบบสอบถามถึงลูกค้า กรณีที่มีการปรับปรุงตัวรถโดยติดตั้งถังเอ็นจีวี ด้วยเหตุที่ยังมีลูกค้าจำนวนมากที่นำรถไปติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีแล้ว ไม่แจ้งกลับมาให้บริษัททราบ ซึ่งลูกค้าจะต้องแจ้งกลับพร้อมหลักฐานรับรองมาตรฐานการติดตั้งถังก๊าซเอ็นจี วีที่สามารถต่อทะเบียนได้ พร้อมกับให้พิจารณาเพิ่มทุนประกันรับความคุ้มครองเพิ่มด้วย

        โดยที่ขึ้นกับการตัดสินใจของลูกค้าเอง ที่ผ่านมามีลูกค้าใหม่ที่นำรถไปติดถังเอ็นจีวี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถเล็กต่ำกว่า 1600 ซีซี อาทิ โตโยต้า วีออส /อัลติส และ ฮอนด้า แจ๊ซ/ซิตี้

        ทางด้านผู้จัดการฝ่ายรับประกันภัยรถยนต์ บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

        'วันชัย วัฒนามานนท์' กล่าวว่า ขณะนี้มีลูกค้าที่ไปติดถังเอ็นจีวีเพิ่มเติม แจ้งกลับมายังบริษัทเฉลี่ยวันละเพียง 1-2 คัน ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ที่ทำประกันภัยชั้น 1 และ 3 ซึ่งบริษัทให้ความคุ้มครอง กรณีเกิดไฟไหม้อยู่แล้ว แต่ได้เสนอให้ลูกค้าเพิ่มทุนประกันเพื่อเพิ่มความคุ้มครองในส่วนที่เกินกรณี เกิดความเสียหาย เนื่องจากทุนประกันเดิมอาจจะไม่เพียงพอทำให้ลูกค้าขาดทุน

        ที่ผ่านมา มีกลุ่มรถบรรทุกขนส่งที่ติดถังเอ็นจีวีและเป็นลูกค้าที่บริษัทรับประกันภัย

        โดยในกลุ่มนี้จะติดถังประมาณ 6-8 ถังต่อคัน โดยเฉลี่ยมูลค่าของรถ 600,000 บาท ทุนประกันมาตรฐาน 80% ของราคารถหรือประมาณ 400,000-500,000 บาท เบี้ยประกัน 30,000-40,000 บาทต่อปี ขณะที่กลุ่มรถปิกอัพและรถยนต์ขนาดเล็กที่ติดถังเอ็นจีวี โดยเฉลี่ยมูลค่ารถยนต์ 600,000-700,000 บาท ทุนประกันประมาณ 400,000-600,000 บาท เบี้ยประกัน 17,000-18,000 บาท ส่วนใหญ่เข้ามาเพิ่มทุนประกันเป็น 450,000-650,000 บาท จ่ายเบี้ยประกันใหม่อยู่ที่ 20,000 บาท แต่ในกลุ่มนี้จะได้รับส่วนลด 10% ทำให้มีภาระจ่ายเบี้ยประกันเท่าเดิม


        "แนวโน้มในอนาคตกลุ่มรถใหม่ที่ผู้ผลิตรถยนต์ติดถัง เอ็นจีวี จะเพิ่มขึ้น แต่รถใหม่ที่ต้องติดเอง ขณะนี้อาจยังไม่มีการติดตั้ง เพราะการติดตั้งถัง เอ็นจีวี ที่ได้มาตรฐานยังมีราคาแพง ลูกค้าติดมาแล้วก็กลัวว่าต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่ม จากที่มีทุนประกันเดิมไม่พอหากเกิดความเสียหายส่วนเกิน ดังนั้น บริษัทจึงมอบส่วนลดให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ากลุ่มนี้ แจ้งกลับเข้ามาต่อประกันเพื่อทำความเข้าใจ" นายวันชัยกล่าว

        นอกจากนี้ จากแนวคิดล่าสุดที่ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อยู่ระหว่างการเจรจากับสมาคมประกันวินาศภัย โดยขอความร่วมมือให้บริษัทประกันภัยลดเบี้ยประกันภัยลง 10% ให้แก่รถที่ติดถังก๊าซเอ็นจีวีเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลช่วยประหยัดพลังงาน นั้น

        ขณะนี้มีทั้งค่ายประกันภัยที่พร้อมให้ความร่วมมือ และอีกหลายแห่งที่ไม่เข้าโครงการ

        เช่น บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด ที่ไม่เข้าโครงการส่วนลด 10% สำหรับรถเอ็นจีวีที่ทำประกันชั้น 1 เพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องแข่งขันเรื่องราคา หรือ ค่ายไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ที่ไม่ได้สนใจเข้าร่วมโครงการเพราะเห็นว่าไม่ได้ช่วยให้อัตราการสูญเสียตลาด ประกันภัยรถยนต์ลดลง ขณะที่นำสินประกันภัย พร้อมที่จะเข้าโครงการนี้เป็นระยะเวลาทดลอง 1 ปี โดยคาดว่าจะมีลูกค้าใหม่ที่เข้ามาทำประกันในโครงการนี้ 10% จากจำนวนรถที่รับประกันทั้งหมด 50,000-60,000 คันโดย 70-80% เป็นรถต่ออายุและอีก 20% เป็นรถใหม่ป้ายแดง เป็นต้น


        เพียงแต่ลูกค้าที่ซื้อประกันภัย ไม่ว่าจะเป็น รถใหม่ป้ายแดงที่มาติดตัวถัง เอ็นจีวี เพิ่มเติมทีหลัง หรือรถเก่าปี 2 ขึ้นไปแต่เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 7 ปี ที่ไปติดตัวถัง เอ็นจีวี ต้องได้รับมาตรฐานของกระทรวงพลังงาน และต้องแจ้งกับทางฝ่ายรับประกันภัยของบริษัทประกันภัยให้รับทราบด้วย

        โดยนำหลักฐานการติดตั้งถังก๊าซมายืนยัน

        "ฐานเศรษฐกิจ" สำรวจความเห็นจากผู้บริหารระดับสูงค่ายประกันภัยรถยนต์หลายแห่ง

        ถึงความพร้อมในการรับประกันภัยรถยนต์ที่ติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวี และเบี้ยประกันภัยที่ผู้ซื้อประกันภัยต้องรับภาระเพิ่มขึ้น

        'กี่เดช อนันต์ศิริประภา' กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด

        กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีฐานลูกค้าที่รับประกันรถติดถังก๊าซเอ็นจีวีประมาณ 5,000 กว่าคัน คิดเป็น 10% ของฐานลูกค้ามอเตอร์ 500,000 คัน โดยลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ยี่ห้อ โตโยต้าและฮอนด้า ปี 1, 2 และ 3 หรือเฉลี่ยไม่เกิน 7 ปี ซึ่งหากลูกค้าต้องการเพิ่มทุนประกัน เพื่อซื้อความคุ้มครองในส่วนเกินนี้ บริษัทจะคิดเบี้ยประกันในอัตราปกติ 2.5-3% ของจำนวนทุนประกันที่เพิ่มขึ้น หรือต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มประมาณ 1,000-2,000 บาท

        เช่น รถยนต์เล็ก ราคา 700,000 บาท เดิมทุนประกัน 500,000 บาท เบี้ยประกัน 15,000-16,000 บาทต่อปี เมื่อติดถัง เอ็นจีวี มูลค่า 50,000 บาท ต้องเพิ่มทุนประกันเป็น 550,000 บาท คิดเป็นเบี้ยประกันใหม่ 16,000-17,000 บาท

        ขณะที่ 'กฤตวิทย์ ศรีพสุธา' กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างกำหนดเบี้ยประกันและทุนประกันที่เหมาะสม เพื่อรับนโยบายสนับสนุนของภาครัฐในการประหยัดพลังงาน โดยจะช่วยให้ผู้ซื้อประกันภัยมีภาระลดลงเฉลี่ยประมาณ 2,500 บาท

        'ภูเบศร เทพทรงพัฒนา' หัวหน้าสายงานประกันภัยรถยนต์ บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด เล่าว่า ขณะนี้ยังมีลูกค้าอีกจำนวนมากที่นำรถไปติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการแจ้งกลับให้บริษัททราบ ซึ่งบริษัท อยู่ระหว่างส่งแบบสอบถามถึงการปรับปรุงตัวรถที่มีการติดตั้งถังเอ็นจีวี โดยที่ลูกค้าจะต้องแจ้งกลับพร้อมหลักฐานรับรองมาตรฐานการติดตั้งถังก๊าซเอ็น จีวีที่รถยนต์สามารถต่อทะเบียนได้ พร้อมกับให้พิจารณาเพิ่มทุนประกันรับความคุ้มครองเพิ่มด้วย โดยที่ขึ้นกับการตัดสินใจของลูกค้าเอง จะเลือกจ่ายเบี้ยเพิ่มเพื่อแลกกับความคุ้มครองความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหรือ ไม่ หากความเสียหายนั้นไม่ได้ถูกระบุในการรับประกัน

        ฐานลูกค้าใหม่ของบริษัท ที่นำรถไปติดถังก๊าซเอ็นจีวีส่วนใหญ่ เป็นรถเล็กต่ำกว่า 1600 ซีซี อาทิ โตโยต้า รุ่น วีออส /อัลติส และ ฮอนด้า แจ๊ซ/ซิตี้ โดยได้เพิ่มทุนประกัน ที่เพียงพอในการรับความคุ้มครอง และบริษัทคิดเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้นในอัตรา 2.5-4% ของทุนประกันที่เพิ่มขึ้น อาทิ เพิ่มทุนประกัน 50,000 บาทจากเดิม ต้องเบี้ยประกันเพิ่มอีก 2,000-3,000 บาทต่อปี

        ทางด้านผู้จัดการฝ่ายรับประกันภัยรถยนต์ บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

        'วันชัย วัฒนามานนท์' กล่าวว่า ขณะนี้มีลูกค้าที่ไปติดถังเอ็นจีวีเพิ่มเติม แจ้งกลับมายังบริษัทเฉลี่ยวันละเพียง 1-2 คัน ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ที่ทำประกันภัยชั้น 1 และ 3 ซึ่งบริษัทให้ความคุ้มครอง กรณีเกิดไฟไหม้อยู่แล้ว แต่ได้เสนอให้ลูกค้าเพิ่มทุนประกันเพื่อเพิ่มความคุ้มครองในส่วนที่เกินกรณี เกิดความเสียหาย เนื่องจากทุนประกันเดิมอาจจะไม่เพียงพอ ทำให้ลูกค้าขาดทุน

        ที่ผ่านมา มีกลุ่มรถบรรทุกขนส่งที่ติดถังเอ็นจีวีและเป็นลูกค้าที่บริษัทรับประกันภัย

        โดยในกลุ่มนี้จะติดถังประมาณ 6-8 ถังต่อคัน โดยเฉลี่ยมูลค่าของรถ 600,000 บาท ทุนประกันมาตรฐาน 80% ของราคารถหรือประมาณ 400,000-500,000 บาท เบี้ยประกัน 30,000-40,000 บาทต่อปี ขณะที่กลุ่มรถปิกอัพและรถยนต์ขนาดเล็กที่ติดถังเอ็นจีวี โดยเฉลี่ยมูลค่ารถยนต์ 600,000-700,000 บาท ทุนประกันประมาณ 400,000-600,000 บาท เบี้ยประกัน 17,000-18,000 บาท

        ส่วนใหญ่เข้ามาเพิ่มทุนประกันเป็น 450,000-650,000 บาทจ่ายเบี้ยประกันใหม่อยู่ที่ 20,000 บาท แต่จะได้รับส่วนลด 10% หรือจ่ายเบี้ยประกันเท่าเดิม

        นอกจากนี้ จากแนวคิดล่าสุดของ คปภ.ที่ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัย เสนอให้บริษัทประกันภัยลดเบี้ยประกันลง 10%ให้แก่รถที่ติดถังก๊าซเอ็นจีวีเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลที่สนับ สนุนการประหยัดพลังงานนั้น กลับพบว่าในขณะนี้มีค่ายประกันภัยเพียงบางค่ายเท่านั้นที่พร้อมให้ความร่วม มือ แต่อีกหลายค่ายไม่ได้เห็นความจำเป็นที่จะต้องลดเบี้ยประกันภัยดังกล่าว เช่น บริษัทแอกซ่าประกันภัย จำกัด ที่ไม่เข้าโครงการส่วนลด 10% สำหรับรถเอ็นจีวีที่ทำประกันชั้น 1 เพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องแข่งขันเรื่องราคา หรือ ค่ายไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ที่ไม่ได้สนใจเข้าร่วมโครงการเพราะเห็นว่าไม่ได้ช่วยให้อัตราการสูญเสียตลาด ประกันภัยรถยนต์ลดลง

        ขณะที่นำสินประกันภัย พร้อมที่จะเข้าโครงการนี้เป็นระยะเวลาทดลอง 1 ปี โดยคาดว่าจะมีลูกค้าใหม่ที่เข้ามาทำประกันในโครงการนี้ 10% จากจำนวนรถที่รับประกันทั้งหมด 50,000-60,000 คันโดย 70-80% เป็นรถต่ออายุและอีก 20% เป็นรถใหม่ป้ายแดง

        "มองว่า แนวโน้มในอนาคตกลุ่มรถใหม่ที่ผู้ผลิตรถยนต์ติดถัง เอ็นจีวี จะเพิ่มขึ้น แต่รถใหม่ที่ต้องติดเอง ขณะนี้อาจยังไม่มีการติดตั้ง เพราะการติดตั้งถัง เอ็นจีวี ที่ได้มาตรฐานยังมีราคาแพง ลูกค้าติดมาแล้วก็กลัวว่าต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่ม จากที่มีทุนประกันเดิมไม่พอหากเกิดความเสียหายส่วนเกิน ดังนั้น บริษัทจึงมอบส่วนลดให้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ากลุ่มนี้ แจ้งกลับเข้ามาต่อประกันเพื่อทำความเข้าใจ" นายวันชัย กล่าว

เปิดอู่รถประหยัดพลังงาน ชีวิคอวด CNG-ยุโรปฮิตรถ E85

เปิดอู่รถประหยัดพลังงาน ชีวิคอวด CNG-ยุโรปฮิตรถ E85
    ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงพุ่งทะยานไม่หยุด จนรัฐบาลไทยต้องออกมาตรการส่งเสริมให้มีการผลิตรถเอ็นจีวีและรถพลังงานอี 85 เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ โดยในเมืองไทยยังไม่มีการผลิตอย่างจริงใจ แต่ในต่างประเทศหันมาให้ความสนใจและพัฒนารถรุ่นใหม่เพื่อใช้พลังงานทางเลือก ใหม่ที่มีราคาถูกกว่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าน้ำมัน

        เริ่มที่ค่ายรถยนต์ฮอนด้าที่คนไทยแสนจะคุ้นเคย มีการผลิตรถยนต์นั่งอย่างซีวิค จีเอ็กซ์ ในเวอร์ชันพิเศษ ติดตั้งระบบก๊าซซีเอ็นจีมาจากโรงงานโดยตรง ซึ่งจะมีผลให้มีการเผาไหม้อย่างหมดจด จนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับที่ต่ำมาก เกือบถึง 0 % โดยเมื่อเทียบกับรถยนต์เบนซินทั่วไปที่วิ่งบนท้องถนน รถรุ่นนี้จะสะอาดกว่าถึง 90 % เลยทีเดียว และยังมีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันในระดับที่ประหยัดมากๆ ใครที่ขับซีวิคเห็นแล้ว คงน้ำลายหก อยากให้บริษัทในไทยสั่งมาขายคงต้องร้องเพลงรอไปก่อน เพราะฮอนด้า ซีวิค จีเอ็กซ์ ซีเอ็นจี มีขายเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ที่ แคลิฟอร์เนีย และนิวยอร์ก และได้การยกย่องจากสถาบันส่งเสริมการประหยัดพลังงานของสหรัฐฯว่าเป็นรถที่ สะอาดที่สุดของปี 2551 นอกจากนี้ ผู้ที่ซื้อรถรุ่นนี้ยังได้รับสิทธิ์พิเศษมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าคนทั่วไป ได้รับสิทธิ์วิ่งในเลนสำหรับรถประหยัดพลังงาน และเงื่อนไขอื่นๆอีกมากมาย

        ถัดจากฮอนด้าก็ถึงคิวของยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้า ที่พัฒนารถไฮบริดที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินทำงานประสานกับมอเตอร์ไฟฟ้าออกมา จำหน่ายทั่วโลกจนโดนใจคนรักษ์ธรรมชาติ โดยรถรุ่นที่ขายที่สุดคือ โตโยต้า พริอุส ที่มีความโดดเด่นในด่านความประหยัดน้ำมัน 35.5 กม./ลิตร ซึ่งขณะนี้ขายไปกว่า 1 ล้านคันแล้ว ปัจจุบัน พริอุส มีจำหน่ายอยู่มากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก และเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดประเทศญี่ปุ่น และอเมริกาเหนือ โตโยต้า พริอุส เริ่มการแนะนำเข้าสู่ตลาดประเทศญี่ปุ่น ในปี 2540 และมีการจำหน่ายในทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ รวมถึงตลาดประเทศอื่น ๆ ในปี 2543 จนกระทั่งในปี 2548 บริษัทโตโยต้าฯ มีการประกอบรถยนต์โตโยต้า พริอุส นอกประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ที่เมืองชางชุน ประเทศจีน และมีแผนที่จะทำการจำหน่ายโตโยต้า พริอุสในประเทศเกาหลีใต้ ในครึ่งปีหลังของปี 2552

        โตโยต้าได้พยายามที่จะส่งเสริม และทำให้ระบบพลังงานไฮบริด เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยใช้ พริอุส เป็นตัวหลัก และจากระบบพลังงานไฮบริดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์รุ่นต่าง ๆ ในวงกว้าง ทำให้โตโยต้าตั้งเป้าหมายที่จะให้รถยนต์พลังงานไฮบริดของโตโยต้ามียอดขาย ทั่วโลกต่อปี มากกว่า 1 ล้านคัน ให้ได้ภายในปี 2010 โดยล่าสุด โตโยต้าได้เผยโฉม พริอุสรุ่นใหม่ ปลั๊ก-อิน ที่เจ้าของสามารถดึงปลั๊กจากตัวรถมาเสียบกับไฟที่บ้าน เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ ทำให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

        ฟอร์ด เป็นอีกค่ายรถยักษ์ใหญ่ของโลกที่สนใจการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ที่ประหยัด พลังงาน ทั้งรถไฮบริด จนถึงรถที่ใช้แก๊สโซฮอล์ อี 85 แต่ที่ใกล้ตัวบ้านเรา เห็นจะเป็นการพัฒนารถยนต์ขนาดเล็กในตระกูล บี -คาร์ ซึ่งคาดว่าจะใช้ชื่อ ฟอร์ด เฟียสต้า สำหรับการทำตลาดทั่วโลก โดยไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตป้อนภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ฟอร์ด เฟียสต้า มีให้เลือกทั้งเครื่องยนต์ เบนซิน ที่ใช้อี 20 และเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1.4 ลิตร และ 1.6 ลิตร มีทั้งเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ และเมื่อเร็วๆนี้ ผู้บริหารระดับสูงของฟอร์ดระบุว่า หากรัฐบาลไทยมีนโยบายด้านแก๊สโซฮอล์ อี 85 อย่างชัดเจน ฟอร์ดก็พร้อมนำเทคโนโลยี อี 85 ใส่ให้กับเฟียสต้า ซึ่งจะเปิดตัวในปลายปี 2552 ซึ่งหากทำได้จริง การแข่งขันในตลาดรถยนต์คงสนุกไม่น้อย เมื่อเฟียสต้าจะได้ลดภาษีสำหรับอี 85 ทำให้มีราคาใกล้เคียงกับอีโคคาร์ที่จะเปิดตัวในช่วงต้นปี 2553

        หากไม่อยากรอนาน วอลโว่ คาร์(ประเทศไทย) พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเป็นรถยนต์ วอลโว่ C30 โดยมีให้เลือก 2 รุ่นคือรุ่นเครื่องยนต์ 2.4i ที่สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ได้ โดยตั้งราคาจำหน่ายไว้ที่ 2.349 ล้านบาท และรุ่นเครื่องยนต์ Flexifuel ขนาด 1.8 ลิตร ที่สามารถใช้น้ำมันไบโอเอทานอล อี 85 (ใช้เอทานอล 85% และเบนซิน 15%) และมีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ล่าสุด วอลโว่ ยังได้นำ วอลโว่ ซี 30 รีชาร์จ คอนเซ็ปต์ ต้นแบบรถระบบไมโคร-ไฮบริดล่าสุดที่ใช้ได้ทั้งไฟฟ้าน้ำมันไบโอเอทานอล มาโชว์เป็นไฮไลต์พิเศษของงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ปี 2551 ด้วย

        ในยุโรป รถยนต์ซาบจากสวีเดน เป็นผู้นำในการผลิตรถเฟล็กซ์ฟิวหรือรถไบโอเอทานอล อี 85 โดยที่ผ่านมา มีการส่งมอบรถ ซาบ ไบโอเพาเวอร์ อี 85 ไปแล้ว 100,000 คัน ซึ่งเป็นมาจากความตื่นตัวในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพแทนน้ำมัน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลก ใครว่ารถที่ใช้เอทานอล กำลังเครื่องยนต์ลดลง ต้องลองรถซาบ ไบโอเพาเวอร์ เพราะทั้ง ซาบ 9-5 และซาบ 9-3 มีให้เลือกทั้งเครื่องยนต์ อี85 เทอร์โบ ขนาด 2.0 ลิตร ที่ให้พละกำลังถึง 180 แรงม้า และแรงบิด 280 นิวตัน-เมตร จาก 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 8.5 วินาที ขณะที่เครื่องยนต์เบนซิน ทำได้แค่ 9.8 วินาที นอกจากนั้น ยังมีเครื่องยนต์ไบโอพาวเวอร์ ขนาด 2.3 ลิตร ที่ให้พละกำลังสูงสุด 210 แรงม้าและให้แรงบิดสูงสุด 310 นิวตัน-เมตร จาก 0-100 กม./ชม.เพียง 7.9 วินาที

        กระแสความตื่นตัวเรื่องน้ำมันแพง ส่งให้ผู้ผลิตรถยนต์หันมาพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพที่ ประหยัดน้ำมันไปพร้อมๆกับการลดปล่อยมลพิษสู่อากาศ เพื่อรักษาโลกและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

ปตท.วิ่งไล่ปัญหาเอ็นจีวีไม่ทัน ยอดใช้โตกว่าแผนการจัดหามิ.ย.แล้วโอดสิ้นปีรับภาระเนื้อก๊าซ5พันล.

ปตท.วิ่งไล่ปัญหาเอ็นจีวีไม่ทัน ยอดใช้โตกว่าแผนการจัดหามิ.ย.แล้วโอดสิ้นปีรับภาระเนื้อก๊าซ5พันล.
    ปตท. ยอมรับเหนื่อยแก้ปัญหาขาดแคลนก๊าซเอ็นจีวีไม่ทันกับความต้องการ เผยยอดการใช้พุ่งขึ้นสูงกว่าแผนการจัดหาก๊าซในเดือนมิ.ย.แล้ว แม้จะเพิ่มสถานีแม่จ่ายก๊าซและรถขนส่ง แต่ยอดรถติดตั้งเอ็นจีวีพุ่งขึ้นเร็วจากปัญหาราคาน้ำมัน เตรียมดึงปั๊มแอลพีจีจำหน่ายเอ็นจีวีแทนแก้ปัญหารอคิวนาน ขณะที่สิ้นปีนี้แบกรับภาระเนื้อก๊าซขายต่ำกว่าต้นทุน 5,000 ล้านบาท

        แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงสถานการณ์ส่งเสริมการใช้ก๊าซเอ็นจีวีเพื่อรับ วิกฤติราคาน้ำมันว่า ขณะนี้บมจ.ปตท.ยอมรับว่ายังไม่สามารถจัดหาปริมาณก๊าซเอ็นจีวีสนองความต้อง การผู้ใช้รถยนต์เอ็นจีวีได้อย่างเพียงพอ แม้ที่ผ่านมาจะเร่งดำเนินการตามแผนที่วางไว้แล้วก็ตาม เนื่องจากเวลานี้ความต้องการใช้ก๊าซได้พุ่งขึ้นสูงกว่าที่ปริมาณการไว้ใน เดือนมิถุนายนจะอยู่ที่ 2,088 ตันต่อวันแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นไป ทำให้ประชาชนหันมาติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีเพิ่มมากขึ้นกว่าที่คาดไว้ จะเห็นได้จากแต่ละอู่มีการติดตั้งไม่ต่ำกว่า 100 คันต่อวัน ทำให้การจัดหาไม่สามารถไล่ทันกับความต้องการที่พุ่งสูงขึ้นได้

        โดยปัจจุบันยอดการใช้ก๊าซเอ็นจีวีอยู่ที่ประมาณ 1,700 ตันต่อวัน ประเมินจากยอดรถยนต์เอ็นจีวีที่มีอยู่กว่า 76,600 คัน แต่ในความเป็นจริงยังไม่สามารถจัดหาก๊าซเอ็นจีวีรองรับรถยนต์ได้อีกประมาณ 400 ตันต่อวัน แม้ว่าจะเพิ่มจำนวนสถานีแม่ในการจ่ายก๊าซและเพิ่มรถขนส่งก๊าซแล้วก็ตามก็ยัง ไม่สามารถรองรับความต้องการได้

        ในขณะที่การจัดสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีที่วางแผนไว้ในภายในสิ้นปีนี้จะต้อง มีถึง 355 แห่งนั้น อาจจะไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้ อย่างมากคาดว่าจะมีอยู่ประมาณ 320 แห่ง เพราะการหาสถานที่ก่อสร้างไม่ได้ดำเนินการง่ายๆ

        แต่ทางบมจ.ปตท.พยายามที่จะแก้ปัญหาการเพิ่มสถานีบริการให้มากที่สุด โดยแนวทางหนึ่งจะไปขอความร่วมมือก่อสร้างปั๊มเอ็นจีวีในสถานีบริการก๊าซแอล พีจีจำนวน 25 แห่งโดยการยกเลิกการจำหน่ายแอลพีจีเดิมที่มีอยู่ ซึ่งได้มีการหารือกับผู้ประกอบการมาบ้างแล้ว และในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้ จะประสานไปยังกรมธุรกิจพลังงาน เชิญผู้ประกอบการสถานีบริการแอลพีจีที่สามารถจำหน่ายก๊าซเอ็นจีวีได้มาหารือ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อการตัดสินใจยกเลิกการจำหน่ายก๊าซแอลพีจีเปลี่ยนมาจำหน่ายเอ็นจีวีแทน โดยบมจ.ปตท.จะให้ผลตอบแทนหรือค่าการตลาดไม่ต่ำกว่าที่เคยจำหน่ายก๊าซแอลพีจี ที่ระดับ 1.40 บาทต่อกิโลกรัม แต่ในทางกลับกันยอดการจำหน่ายเอ็นจีวีจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า

        แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ จากการสำรวจปั๊มก๊าซแอลพีจีที่มีอยู่ในเขตกทม.และปริมณฑลจำนวน 104 แห่ง มีปั๊มแอลพีจีที่เปิดจำหน่ายก๊าซเอ็นจีวีแล้ว 3 แห่ง มีปั๊มแอลพีจีที่สามารถเพิ่มการจำหน่ายก๊าซเอ็นจีวีร่วมกันได้ 1 แห่ง สามารถเป็นปั๊มที่จำหน่ายก๊าซเอ็นจีวีได้แต่ต้องยกเลิกการจำหน่ายแอลพีจี 25 แห่ง เป็นปั๊มแอลพีจีที่มีข้อจำกัดพื้นที่แต่อาจจะสร้างปั๊มเอ็นจีวีได้ 64 แห่ง และเป็นปั๊มแอลพีจีที่ไม่สามารถก่อสร้างปั๊มเอ็นจีวีได้ 11 แห่ง เนื่องจากติดข้อกำหนด

        อย่างไรก็ตาม ผลจากการติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีเพิ่มขึ้น และยังจำหน่ายก๊าซเอ็นจีวีต่ำกว่าราคาที่เป็นจริงที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม คาดว่าจะส่งผลให้บมจ.ปตท.ต้องแบกรับภาระการขาดทุนทั้งปีประมาณ 5,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนที่ขาดทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท

        ส่วนการที่กระทรวงพลังงานเร่งรัดให้ก่อสร้างท่อก๊าซไปยังภูมิภาคต่างๆ โดยประมาณการว่าจะใช้งบลงทุน 34.850 ล้านบาทนั้น ในระยะทาง 697 กิโลเมตร เพื่อกระจายการใช้ก๊าซเอ็นจีวีให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในระยะเวลา 3 ปีนั้น ในส่วนนี้มองว่า การลงทุนดังกล่าวอาจจะต้องสูงถึง 55,760 ล้านบาท เพราะค่าก่อสร้างต่อ 1 กิโลเมตรจะสูงถึง 80 ล้านบาท ซึ่งเงินลงทุนที่สูงขนาดนี้อาจจะทำให้มีปัญหาทางการเงินกับทางบมจ.ปตท. เพราะยังไม่ทราบว่าจะหาจากไหน อีกทั้ง จะต้อง ตอบคำถามผู้ถือหุ้นให้ได้ว่า การลงทุนดังกล่าวมีความจำเป็นหรือไม่ เพราะเป็นการลงทุนที่สูงอาจจะไม่คุ้มกับการลงทุน

        สำหรับการแก้ปัญหาค่าโดยสารรถประจำทาง โดยการหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ 0.5 % ต่อปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีนั้น ขณะนี้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า จะมีการนำเงินจำนวน 4,000 ล้านบาทจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาปล่อยกู้ให้ กับรถร่วมขสมก.และรถร่วมบขส.ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ซึ่งในเร็วๆ นี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปทั้งหมด

โตโยต้าชูทางเลือกยุคน้ำมันแพง ลั่นสิ้นปีเข็นรถเอ็นจีวีบุกตลาดแน่!

โตโยต้าชูทางเลือกยุคน้ำมันแพง ลั่นสิ้นปีเข็นรถเอ็นจีวีบุกตลาดแน่!
 เปิดใจนายใหญ่โตโยต้า'เรียวอิจิ ซาซากิ'กับทิศทางพลังงานทางเลือกในยุคน้ำมันแพง ลั่นสิ้นปีนี้ได้ยลโฉม โตโยต้าNGVแน่ พร้อมเร่งพัฒนารถไฮบริดอย่างจริงจัง

 

 ในยุคที่ราคาน้ำมันแพงยิ่งกว่าทองคำอยู่ในเวลานี้ บริษัทรถยนต์ทั้งหลายต่างพยายามขวนขวายหาแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ เข้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการลดภาระให้กับผู้บริโภค นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผ่านพ้นยุคของเชื้อเพลิงฟอสซิลไปได้ ซึ่งเชื้อเพลิงในอนาคตมีหลากหลายตามที่เทคโนโลยีของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละราย ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาต่อไป
 สำหรับ "โตโยต้า" ยักษ์ใหญ่ชั้นนำแห่งวงการรถยนต์ ได้พยายามพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ เช่นกัน ล่าสุดได้เซ็นเอ็มโอยูกับ ปตท.เพื่อพัฒนาเชื้อเพลิงชนิดใหม่ "BHD" หรือ Bio-Hydrogenated Diesel ซึ่งเป็นทางออกสำหรับน้ำมันดีเซลในอนาคต  ส่วน ทิศทางด้านพลังงานทางเลือกของโตโยต้านั้น นายเรียวอิจิ ซาซากิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเซียแปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TMAP-EM) ได้อธิบายถึงแนวทางการพัฒนาไว้อย่างชัดเจน
@ ทิศทางการพัฒนาพลังงานทางเลือกของโตโยต้า
  การจะพัฒนาทางด้านพลังงานเชื้อเพลิงของแต่ละประเทศนั้นควรมีทิศทางที่ชัดเจน และจะต้องมองถึงการมีพลังงานทดแทนชนิดนั้นมาซัพพอร์ตความต้องการของประชาชน ในประเทศได้อย่างมั่นคง นอกจากนั้นยังต้องมองในด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องพลังงาน ที่จะต้องทำควบคู่กันไปด้วย สำหรับโครงการที่โตโยต้าได้ร่วมมือกับทาง ปตท.นั้น ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ของน้ำมันดีเซล และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับอนาคต นอกจากนั้น ยังมีเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ อีกหลายอย่าง ทั้งเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ไบโอเอทานอล และซีเอ็นจี ซึ่งเมื่อมองแต่ละตัวแล้วคิดว่าทางเลือกที่น่าจะครอบคลุมทุกอย่างได้ คือ ไฮบริดเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามเชื้อเพลิงทุกอย่างที่กล่าวมาทำให้เราต้องมีรถยนต์ที่ใช้เชื้อ เพลิงที่หลากหลายและมีรถยนต์ที่เหมาะสมกับเชื้อเพลิงแต่ละชนิด  ขณะ เดียวกัน ยังต้องมองถึงระบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไฮบริดถือเป็นระบบที่ดีที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และยังมีฟิวเอลเซลล์ที่เป็นเชื้อเพลิงในอนาคตอีกด้วย
@ โตโยต้าสนับสนุนโครงการ BHD อย่างไร
 โครงการ นี้เป็นแผนงานในอนาคต ซึ่งโตโยต้าให้การสนับสนุนโดยการให้รถยนต์และเครื่องยนต์ไปทดสอบน้ำมัน และนำไปโมดิฟายให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง ซึ่งเราคงต้องดูว่าจะมีการปรับแก้ไขตรงไหนบ้าง เพื่อนำข้อมูลมาใช้สำหรับการผลิตต่อไป ปัจจุบันการใช้น้ำมันดีเซลใน เมืองไทย มีการบริโภคอยู่ที่ 50 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งถ้าโครงกาารสำเร็จจะสามารถนำมาทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลได้ทั้งหมด อยู่ที่ว่าในขั้นตอนของการผลิตเพื่อใช้จริงนั้นจะสามารถผลิตได้หรือไม่ ต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบจะมีเพียงพอแค่ไหน ซึ่งต้องมีการเก็บข้อมูลต่อไป อย่างไรก็ตามโครงการนี้ก็เป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงทางเลือกที่ทุกคนคาดหวัง
@ เชื้อเพลิง BHD แตกต่างจากน้ำมันดีเซลอย่างไร
 ขั้น ตอนการผลิตเชื้อเพลิงชนิดนี้อธิบายง่ายๆ ได้ว่า นำเอาน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากสัตว์ที่จะเป็นวัตถุดิบ แล้วนำเอาไฮโดรเจนเข้ามาแทร็กกิ้งเพื่อให้มีการแตกตัวเป็นน้ำมันดีเซล โดยกระบวนการผลิตทำได้ในโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งข้อดีของเชื้อเพลิงชนิดนี้ คือ มีสเป็กดีกว่าน้ำมันดีเซล เพราะไม่มีสารซัลเฟอร์เลย และยังมีสเป็กต่างๆ ที่สูงกว่า และเรายังสามารถนำมาใช้แทนดีเซลได้ถึงบี 100  ปัจจุบันที่ ประเทศฟินแลนด์กับบราซิลกำลังพัฒนาเชื้อเพลิงชนิดนี้อย่างจริงจัง เพราะถือเป็นทางออกสำหรับน้ำมันดีเซลในอนาคต และไม่ต้องกังวลว่าจะมีการปรับแต่งเครื่องยนต์อย่างไร เพราะเชื้อเพลิงชนิดนี้สามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้ทันทีโดยไม่มีผลต่อ เครื่องยนต์ แต่ในเรื่องของต้นทุนการผลิตนั้นต้องขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันพืชและวัตถุดิบ พื้นฐานอื่นๆ ด้วย ซึ่งโครงการนี้จะใช้การทำวิจัยประมาณ 2 ปี
@ โตโยต้ามีแผนงานด้านเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นหรือไม่
 ที่ จะกำลังดูอยู่ก็มีซีเอ็นจีหรือเอ็นจีวี ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ โดยจะเป็นการผลิตจากโออีเอ็มซึ่งออกจากโรงงานโตโยต้าโดยตรง มีกำหนดออกสู่ตลาดภายในสิ้นปีนี้ ส่วนไฮบริดนั้นเรากำลังพัฒนาอย่างจริงจัง และจะมีการทำตลาดอย่างจริงจังด้วย เห็นได้จากการที่เราได้นำพรีอุสออกมาจำหน่ายทั่วโลก สำหรับเมืองไทยนำซีบียู (รถยนต์นำเข้า) เข้ามาทำตลาดแต่มีราคาสูง ส่วนซีเคดี (ผลิตในประเทศ) นั้นเรากำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งเป้าหมายน่าจะเป็นแมสสำหรับตลาดเมืองไทยได้โดยเราจะเริ่มในรุ่นใดรุ่น หนึ่งก่อน สำหรับประเทศไทยมีก๊าซธรรมชาติเป็นของตัวเองที่สามารถนำมาใช้ ได้ และยังเป็นการลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศด้วย ขณะที่ก๊าซธรรมชาติยังเหมาะกับสิ่งแวดล้อมมากว่า และมีราคาถูกเพราะสามารถหาได้ในประเทศ ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค แต่ เอ็นจีวีอาจจะมีปัญหาบ้างในเรื่องพื้นที่ติดตั้งถังแก๊สในตัวรถ รวมทั้งตัวถังแก๊สที่จะต้องให้ได้คุณภาพและใช้งานได้ทนทาน นอกจากนั้นราคาจำหน่ายอาจจะสูงกว่า แต่ถ้าเทียบกับการใช้งานแล้วน่าจะคุ้มค่า ขณะที่กำลังของรถอาจจะตกลงนิดหน่อย ซึ่งเราอาจจะแทบไม่รู้สึก แต่คิดว่าไม่น่ามีปัญหาเพราะการใช้ในชีวิตประจำวันไม่จำเป็นต้องใช้กำลัง เหมือนกับรถแข่ง